วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ข้อมูลทั่วไปจ.ตราด

 ข้อมูลทั่วไปจ.ตราด

ตราประจำจังหวัดตราด


คำขวัญประจำจังหวัด

"เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ ระกำแสนหวาน
หลังอานหมาดี ยุทธนาวีเกาะช้าง สุดทางบูรพา"


ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดตราดตั้งอยู่ภาคตะวันออกของประเทศไทยห่างจากกรุงเทพฯ 315 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 2,819 ตร.กม. หรือประมาณ 1,761,875 ไร่ และเป็นพื้นที่ตามเขตปกครองทางทะเล ประมาณ 7,257 ตร.กม. มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงและประเทศเพื่อนบ้าน ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี และประเทศกัมพูชา
ทิศใต้ ติดต่อกับ อ่าวไทยและน่านน้ำทะเลประเทศกัมพูชา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ประเทศกัมพูชา มีทิวเขาบรรทัดเป็นแนวกั้นเขตแดน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี



ภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศ มีอาณาบริเวณทั้งที่เป็นแผ่นดิน และพื้นน้ำ ประกอบด้วยเทือกเขาสูงอุดมด้วยป่าเบญจพรรณ และป่าดิบทางด้านตะวันออก ส่วนบริเวณหมู่เกาะต่างๆ ทางด้านใต้ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงเช่นเดียวกัน ตอนเหนือเป็นที่ราบบริเวณภูเขา ตอนกลางเป็นที่ราบลุ่มน้ำที่อุดมสมบูรณ์แล้วลาดลงเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล สภาพภูมิประเทศที่ปรากฏจึงแบ่งเป็น 4 ลักษณะ


1. บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้แก่ บริเวณที่ราบตอนกลาง และตะวันออกเหมาะสำหรับทำนาข้าว และปลูกผลไม้
2. ที่ราบบริเวณภูเขา ได้แก่ บริเวณที่ราบตอนบน และตอนกลาง บริเวณนี้มีพื้นที่กว้างขวางมากเนื่องจากมีภูเขากระจายอยู่ทั่วไป เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การทำสวนผลไม้ ยางพารา และปลูกสับปะรด
3. ที่สูงบริเวณภูเขา ได้แก่ บริเวณทางตอนกลางของอำเภอแหลมงอบ และเขตติดต่ออำเภอเขาสมิง นอกจากนี้ยังมีบริเวณที่เป็นเกาะต่างๆ ซึ่งส่วนมากมีสภาพเป็นพื้นที่ป่าไม้
4. ที่ราบต่ำชายฝั่งทะเล ได้แก่ บริเวณชายฝั่งทะเลเกือบตลอดแนว บริเวณพื้นที่แห่งนี้เป็นป่าชายเลนอย่างหนาแน่น และยังเป็นสถานที่เลี้ยงสัตว์น้ำบางชนิดด้วย


ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพอากาศไม่ร้อนจัดหรือหนาวจัดจนเกินไป เนื่องจากพื้นที่ของจังหวัดมีเกาะต่าง ๆ มากมาย ถึง 52 เกาะ จึงเป็นเสมือนกำแพงกั้นบังคลื่นลม พื้นที่จังหวัดตราดจึงไม่เคยได้รับความเสียหายจากลมพายุเลย ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น มีฝนตกชุกเกือบตลอดปี แบ่งเป็น3ฤดู
ฤดูหนาว มีเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ อากาศไม่หนาวเเย็นมากนักอุณหภูมิเฉลี่ย 20 องศาเซลเซียส
ฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือนมีนาคม และเดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ย 34 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน อยู่ในช่วงเดือน พฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม


สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป อากาศค่อนข้างร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 26 - 29 องศาเซลเซียส ในปี 2545อุณหภูมิสูงสุด 33.8 องศาเซลเซียส ต่ำสุด 21.8 องศาเซลเซียส มีฝนตกตลอดทั้งปี 220 วัน ปริมาณน้ำฝนวัดได้ 4,398.1 มิลลิเมตร

เขตการปกครอง
จังหวัดตราดแบ่งเขตการปกครองรายอำเภอ ดังนี้
1. เมือง
2. เขาสมิง
3.คลองใหญ่
4. แหลมงอบ
5. บ่อไร่
6. กิ่งอ.เกาะกูด
7. กิ่ง อ. เกาะช้าง




สภาพเศรษฐกิจ

ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด

ปี พ.ศ.
2547
ปี พ.ศ.
2548
ภาคเกษตร
7,626.00
7,856.00
เกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้
2,716.00
2,998.00
การประมง
4,910.00
4,858.00
ภาคนอกเกษตร
9,013.00
9,999.00
การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน
39.00
50.00
การผลิตอุตสาหกรรม
578.00
634.00
การไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา
326.00
365.00
การก่อสร้าง
461.00
515.00
การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน
2,025.00
2,467.00
โรงแรมและภัตตาคาร
778.00
812.00
การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม
1,074.00
1,104.00
ตัวกลางทางการเงิน
513.00
605.00
บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่า และบริการทางธุรกิจ
591.00
594.00
การบริหารราชการแผ่นดินและการป้องกันประเทศ รวมทั้งการประกันสังคมภาคบังคับ
761.00
827.00
การศึกษา
742.00
826.00
การบริการด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์
545.00
618.00
การให้บริการชุมชน สังคม และบริการส่วนบุคคลอื่น ๆ
564.00
566.00
ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล
17.00
18.00
ผลิตภัณฑ์จังหวัด (ล้านบาท)
16,639.00
17,855.00

ที่มา: สำนักงานคลังจังหวัดตราด

http://61.19.46.171/trat_poc/report/sar/support_management.php?

การเพาะปลูกพืชของจังหวัดตราดในปี พ.ศ. 2548 พืชที่เกษตรกรเพาะปลูกมากที่สุด คือ ยางพารา โดยมีพื้นที่เพาะปลูก 223,478 ไร่ รองลงมา คือ เงาะ มีพื้นที่ 69,401 ไร่ สับปะรด มีพื้นที่ 40,764 ไร่ และทุเรียน 34,543 ไร่ (สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด, http://61.19.46.171/trat_poc/report/sar/support_management.php?)



สภาพสังคม

การศึกษา

ระดับการศึกษา


ปีการศึกษา 2549

จำนวนนักเรียน (คน)
จำนวนห้องเรียนตามแผน (ห้อง)
จำนวนห้องเรียนจัดจริง (ห้อง)
ระดับปฐมวัย
531
21
21
ระดับอนุบาล
5,913
301
298
ระดับประถมศึกษา
20,812
911
911
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
9,304
276
277
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
3,472
120
113
ระดับ ปวช.
0
0
0
ระดับ ปวส. / อนุปริญญา
0
0
0
ระดับอุดมศึกษา
0
0
0


40,032
1,629
1,620

ที่มา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด

http://61.19.46.171/trat_poc/report/sar/support_management.php?

การศาสนา

จังหวัดมีผู้นับถือศาสนาพุทธมากที่สุด รองลงมา คือ ศาสนาอิสลามและคริสต์ โดยมี วัดพุทธในจังหวัดทั้งสิ้น 67 แห่ง มัสยิด 13 แห่ง และโบสถ์คริสต์ 1 แห่ง (สำนักงานพุทธศาสนาจังหวัดตราด และ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตราด, http://61.19.46.171/trat_poc/report/sar/support_management.php?)

การสาธารณสุข

จังหวัด ตราด มีจำนวนโรงพยาบาล แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ โรงพยาบาลของรัฐ ในจังหวัด ดังนี้

โรงพยาบาลของรัฐ 7 แห่ง

โรงพยาบาลของเอกชน 1 แห่ง

สถานีอนามัย 66 แห่ง

ศูนย์บริการสาธารณสุข 1 แห่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น