วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

โรคขาดสารอาหาร

โรคขาดสารอาหาร

   คือ โรคที่เกิดจากภาวะโภชนาการบกพร่องทำให้ร่างกายขาดสารอาหารบางชนิด มีสาเหตุดังนี้

1.รับประทานอาหารไม่เพียงพอ ซึ่งไม่มีอะไรทดแทนในการป้องกัน

โรคอาจเนื่องมาจากความยากจน ห่างไกลความเจริญและแหล่ง อาหาร

2.รับประทานอาหารไม่ถูกต้อง อาจเนื่องมาจากการขาดความรู้ ในการเลือกกรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการรับประทาน

อาหารไม่ถูต้อง หรือมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการรับประทาน อาหารจากผลวิจัยพบว่าขาดธาตุเหล็กมีผลกระทบไม่เฉพาะเด็กหญิง เท่านั้นเพราะธาตุเหล็กทำให้มีสมาธิในการเรียน

3.มีความผิดปกติของร่างกาย เช่น มีโรคประจำตัว

สาเหตุของโรคขาดสารอาหาร

   เกิดจากพฤติกรรมและนิสัยส่วนตัวในการกินอาหาร และด้วยปัจจัยทาง

ด้านเศรษฐกิจ(ฐานะยากจน) จึงทำให้เด็กต้องกินอาหารเท่าที่พ่อแม่จะหา

มาได้การดูแลเรื่องการกินอาหาร (โภชนาการ) ของเด็กในวัยเรียนเหล่านี้ จะเห็นว่าเด็กไม่ได้กินตามหลักโภชนาการ

แต่กินเพียงเพื่อให้อิ่มท้องและอยู่รอดเท่านั้น ส่วนมากคนที่มีความสำคัญที่ต้องคอยดูแลในเรื่อง โภชนาการของเด็ก

คือ พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู (ญาติ) ที่ไม่ค่อยมีเวลา หรือตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงทำให้เด็กเกิดโรคขาดสาร

อาหารโดยไม่รู้ตัว

โรคขาดสารอาหารเป็นปัญหาที่สำคัญ

 

   ของประชากรและเป็นสาเหตุให้เด็กมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้น หากไม่ถึงกับเสียชีวิตร่างกายก็จะแคระแกร็น ไม่

เจริญเติบโต ทั้งทางด้านพฤติกรรมและสังคม การแก้ไขปัญหาโรคขาดสารอาหารที่เกิดกับเด็ก ทำได้โดยการทำให้

ประชาชนตระหนักถึงการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ เพราะน้ำนมแม่มีสารอาหารที่สมบูรณ์และดีที่สุด สำหรับใช้เลี้ยงทารก

หากเป็นไปได้ควรให้เด็กได้ดื่มนมวัวหรือนมถั่วเหลืองด้วย

ตัวอย่างการแก้ไขและป้องกันโรคขาดสารอาหาร(โปรตีน)

   สำหรับคนที่มีรายได้น้อยโดยการกินอาหารที่ให้โปรตีนจากพืชแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่มีราคาแพง โปรตีนจากพืช

เรียกว่า โปรตีนเกษตรมีลักษณะคล้ายเนื้อสัตว์และให้คุณค่าทางโภชนาการ (โปรตีน) ไม่น้อยไปกว่าเนื้อสัตว์ ใน

ราคาที่ไม่แพงนัก การนำโปรตีนเกษตรมาประกอบอาหารให้เด็กเล็กกิน จะช่วยให้เด็กได้รับโปรตีน ซึ่งเป็นสารอาหาร

ที่สำคัญในการเจริญเติบโตของเด็ก

โดยสรุปก็คือต้องมีความรู้ทางโภชนาการ

   รู้จักการเลือกกินอาหารให้ได้สารอาหารครบถ้วน และในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน

หากสารอาหารที่จำเป็นมีราคาแพง เช่น เนื้อสัตว์ก็หาสิ่งที่มาทดแทน (โปรตีนเกษตร) เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่

จำเป็น ครบถ้วนและไม่เป็นโรคขาดสารอาหาร.

โรคขาดธาตุเหล็ก เหล็กเป็นส่วนประกอบของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง เพื่อนำ

ไปใช้ในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยปกติทั่วไปหญิงมีครรภ์ และหญิงที่มี

ประจำเดือนต้องการธาตุเหล็กมากกว่าชาย เพราะสูญเสียเลือดมากกว่า ทำให้เป็น

โรคโลหิตจางกันมาก และเป็นได้ทุกวัย โรคนี้พบมากในภาคเหนือและภาคตะวัน

ออกเฉียงเหนือ

สาเหตุ

  เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก กินอาหารที่มีเหล็กไม่พอหรือร่างกายเสียเลือดมาก หรือเป็นโรคพยาธิลำไส้ นอกจากนี้อาจเนื่องจากขาดโปรตีน วิตามินบี 12 และกรด

โฟลิค โดยเฉพาะในหญิงมีครรภ์และทารก และเด็กทารกและเด็กเป็นโรคนี้ได้ โดย

เฉพาะทารกที่คลอดจากมารดาที่เป็นโรคเลือดจาง และในทารกที่คลอดก่อน

กำหนด หญิงมีครรภ์และวัยรุ่นซึ่งต้องการเหล็กมากกว่าปกติ อาจเป็นโรคเลือดจาง

ได้ง่าย

อาการ

1.เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย

2.หงุดหงิด มึนงง ปวดศีรษะ

3.ผิวพรรณซีด

4.เล็บบาง เปราะและซีด

โรคเหน็บชา

  เป็นผลจากการขาด วิตามินบี 1 ซึ่งทำหน้าที่ เร่งปฏิกิริยาในการ เผาผลาญ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน เมื่อร่างกายขาดวิตามิน

บี 1 จะทำให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารแปรปรวนไปจาก

ปกติ เป็นโรคที่พบบ่อยในหญิงมีครรภ์ ผู้ใช้แรงงาน ทารกและ ผู้ดื่มสุราเป็นประจำ

สาเหตุ

   เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอกับความ ต้องการของร่างกายและการขาดความรู้

อาการ

เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ชาตามมือและเท้า ปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่อง แขน-ขาลีบ ไม่มีแรงเดินเปะปะ หายใจลำบาก หัวใจบวมโต ถ้าไม่รักษาอาจถึงแก่ชีวิตได้ด้วยโรคหัวใจวาย

การป้องกัน

โรคเหน็บชาไม่ใช่โรคที่เกิดจากความอดอยากหากแต่เกิดเพราะการรับประทานอาหารไม่ถูก สัดส่วนการป้องกันอาจทำได้โดยส่งเสริมให้กินอาหารที่มีวิตามินบี๑ สูง เช่น เนื้อหมู ถั่วเหลือง ผู้ที่ดื่มน้ำชาหรือเคี้ยวใบเมี่ยงเป็นประจำ ถ้าเลิกได้เป็นการดีที่สุดถ้าทำไม่ได้ก็ดื่มน้ำชาหรือเคี้ยว ใบเมี่ยงให้น้อยลง และควรทำในระหว่างมื้ออาหาร ผู้ที่ชอบกินปลาร้าดิบ ควรเปลี่ยนเป็นต้มให้ สุกเสียก่อน เลิกดื่มเหล้าเป็นประจำเวลาเกิดการเจ็บป่วยก็ไม่อดของแสลง ทั้งๆ ที่อาหารเหล่านั้นมีคุณค่าทางโภชนาการ การหุงต้มทุกชนิดควรใช้น้ำแต่พอประมาณ เช่น ควรหุงข้าวแบบไม่เช็ดน้ำส่งเสริมให้กินข้าวซ้อมมือ และรัฐควรวางมาตรฐานการสีข้าวของโรงสีต่างๆ เพื่อสงวนคุณค่าของวิตามินบี๑ ไว้

โรคที่เกิดจากการขาดสารอาหาร

โรคขาดสารอาหารที่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขในประเทศไทย มีอยู่ด้วยกัน 4 โรค คือ

1. โรคขาดสารอาหารโปรตีนและกำลังงาน

2. โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก

3. โรคขาดสารไอโอดีน

4. โรคขาดวิตามิน

1.โรค ขาดสารอาหารโปรตีนและกำลังงาน โรคนี้พบมากในเด็กทารกและเด็กวัยก่อนเรียน (อายุต่ำกว่า 5 ปี) ซึ่งเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตอย่างรวเร็ว มีความต้องการอาหารทั้งปริมาณและคณภาพยิ่งกว่าวัยอื่น ๆ เมื่อเด็กได้รับอาหารโปรตีนและกำลังงานไม่เพียงพอจึงเกิดโรคนี้ขึ้น ทำให้ภูมิต้านทานโรคต่ำ ติดเชื้อง่าย เช่น โรคท้องเสีย หวัด ปอดบวม เป็นต้น ถ้าเป็นโรคติดเชื้อรุนแรงอาจถึงตายได้ แต่ถ้าไม่ตายจะทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายและสมองไม่ดีเท่าที่ควร

สาเหตุ

ทางตรง เกิดจากการที่ทารกและเด็กได้รับอาหารที่ให้โปรตีนและกำลังงานไม่เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ ซึ่งอาจเนื่องมาจาก

1. การไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ใช้นมผสมไม่ถูกส่วนหรือเลี้ยงทารกด้วยนมข้นหวาน

2. เมื่อถึงวัยอันควร เด็กไม่ได้รับอาหารตามวัยที่ถูกต้อง เช่น ไข่ ปลา เนื้อสัตว์

3. การเตรียมอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาจจะทำให้เด็กท้องเสียและเกิดโรคติดเชื้ออื่น ๆ

ทางอ้อม เกิดปัญหาความยากจน ไม่มีจะกิน

ผลกระทบของโรคขาดโปรตีนและกำลังงาน

1. ผลต่อเด็ก

1.1 ถ้าเป็นรุนแรงเด็กอาจตายได้ ทำให้อัตราตายขอทารก และเด็กวัยก่อนเรียนสูง

1.2 ผลต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายมีน้ำหนักน้อย และตัวเล็กกว่าปกติ ภูมิต้านทานโรคที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายและเมื่อเป็นแล้วมักจะรุนแรง เช่น โรคท้งร้วง หัด อัตราตายจะสูงกว่าเด็กปกติ

1.3 ผลต่อสมอง สติปัญญา และการเรียนรู้ ถ้าเป็นโรคนี้ เมื่ออายุยังน้อย จะมีจำนวนเซลล์ในสมองน้อยกว่าปกติ และขนาดของสมองก็เล็กกว่าปกติ จึงทำให้การพัฒนาทางสมอง สติปัญญา และการเรียนรู้ด้อยไปด้วย2. ผลต่อครอบครัว ทำให้สิ้นเปลืองในการดูแลรักษาลูกที่เจ็บป่วยบ่อย ๆ และเสียเวลาในการทำมาหากิน

3. ผลต่อประเทศชาติ ทำให้ได้พลเมืองที่ไม่มีคุณภาพทั้งด้านสติปัญญา การเรียนรู้ และด้านร่างกาย เป็นผลทำให้ประเทศชาติไม่พัฒนา

การ ป้องกันการขาดโปรตีน เนื่องจากปัญหาโรคขาดโปรตีนและกำลังงาน มีความสำคัญมากต่อสุภาพและคุณภาพชีวิตคน จึงควรร่วมมือร่วมใจป้องกันทุกฝ่าย ทั้งในชุมชนและในทุกหน่วยงานของรัฐ ดังนี้

1. ค้นหาปัญหาและการเฝ้าระวังติดตามทางโภชนาการ โดยการชั่งน้ำหนักเด็กแรกเกิด 5 ปี ทุก ๆ 3 เดือน

2. ให้อาหารเสริมที่มีคุณค่าทางโปรตีน และกำลังงานแก่เด็กอย่างเพียงพอ

3. เพิ่มผลผลิตอาหาร

4. ให้โภชนศึกษา และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เรื่องอาหารและโภชนาการแก่บิดามารดาของเด็ก

2. โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โรคนี้พบมากในกลุ่มหญิงมีครรภ์ เด็กก่อนวัยเรียน และเด็กวัยเรียน โดยมีเครื่องชี้วัดที่ใช้ในการกำหนดภาวะโลหิตจางของประชากรกลุ่มอายุต่าง ๆ ใช้ค่าเฮโมโกบิล หรือค่าเฮมาโตคริต ตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก โดยกลุ่มประชากรดังกล่าวหากมีค่าต่ำกว่าที่กำหนด หมายถึง อยู่ในภาวะโลหิตจาง

 

 

สาเหตุของการขาดสารอาหารที่ทำให้เกิดโรคโลหิตจางส่วนใหญ่ เนื่องมาจาการขาดธาตุ ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่าง คือ

1. ได้รับอาหารที่มีธาตุเหล็ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียน

2. เป็นโรคพยาธิปากขอ

3. สูญเสียเลือดเรื้อรัง เช่น เสียเลือดจากระบบทางเดินอาหาร จากการรับประทานยาแก้หวัดเป็นประจำ

อาการของโรคโลหิตจาง

1.เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย แม้ทำงานเล็กน้อยก็หายใจหอบ

2. รู้สึกหัวใจเต้น ปวดศีรษะ หงุดหงิด มึนงง เป็นลมวิงเวียน หน้ามืดเสมอ

3. เล็บเปราะบาง และซีด

4. ลิ้นเลี่ยนเรียบ ไม่มีตุ่ม และอักเสษ

5. ผิวพรรณซีดและตาซีด

ผลเสียของโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก

1. การขาดธาตุเหล็ก เป็นโรคที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต และประสิทธิภายการทำงานของร่างกายในทุกกลุ่มประชากร

2. ในหญิงตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกคลอดต่ำและมีอัตราตายของทารกขณะคลอดและหลังคลอดสูง

3. ในทารก และเด็กก่อนวัยเรียน จะทำให้เจริญเติบโต และการพัฒนาของร่างกายและสมองช้า และมีผลต่อการพัฒนาสติปัญญาของเด็กวัยเรียนด้วย

4. ทำให้ระบบการป้องกันโรคของร่างกายต่ำ

 

 

การป้องกันการขาดธาตุเหล็ก

1. ให้ประชาชนบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็กมาก ๆ เช่น ตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดง และผักใบเขียว

2. ป้องกันไม่ให้เป็นโรคพยาธิ โดยการปรับปรุงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม

3. การเสริมธาตุเหล็ก ในรูปของยาเม็ดหรือน้ำไซรับ ในกลุ่มประชาชนเป้าหมาย คือหญิงมีครรภ์ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียน

3. โรคขาดสารไอโอดีน เป็นปัญหาโภชนาการที่สำคัญปัญหาหนึ่งที่พบมากทีในแถบถิ่นทุรกันดาร แถบภูเขาในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและบางจังหวัดในภาคกลาง รวมทั้งภาคใต้ของประเทศสาเหตุ 1. ปัจจัยทางธรรมชาติ อันได้แก่ ดินและน้ำในพื้นที่มีปัญหา ซึ่งพบว่าทั้งดินและน้ำในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและบางจังหวัดในภาคกลาง มีปริมาณไอโอดีนในดินและในน้ำต่ำกว่าในกรุงเทพฯ ประมาณ 4-7 เท่า และยังพบว่าพืช ผัก ชนิดเดียวกับในบริเวณที่มีอัตราคอพอกสูงมีปริมาณไอโอดีนต่ำ 2. การกระจายอาหารที่มีไอโอดีนสูงไม่ทั่งถึง เนื่องจากการคมนาคมลำบาก ไม่มีอาหารทะเลสำหรับบริโภคสม่ำเสมอประกอบกับอาหารทะเลราคาแพง ไม่มีอำนาจซื้อเพราะเศรษฐกิจไม่ดี 3. ประชาชนขาดความรู้ ความเข้าใจต่อโรคนี้ ตลอดไปจนถึงความรู้ถึงสาเหตุและวิถีทางป้องกันโรคที่จะนำไปปฏิบัติได้ง่าย

ผลกระทบจากการขาดสารไอโอดีนต่อร่างกาย

เมื่อ ร่างกายขาดสารไอโอดีน มีผลทำให้ร่างกายขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ทำให้เกิดพยาธิสภาพที่สำคัญและประการ เรียกว่าภาวะผิดปกติจากการขาดสารไอโอดีน (Iodine Deficiencies Disorders หรือ IDD) จะมีอาการดังนี้

1. คอพอก หมายถึง ต่อมไทรอยด์ที่คอโตกว่าปกติ ถ้าโตมาก ๆ จะกดหลอดลม ทำให้ไอ สำลัก หายใจลำบาก ถ้ากดหลอดลมอาหารจะกลืนลำบาก

2. ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ หมายถึง ภาวะที่ร่างกายมีไทรอยด์ฮอร์โมนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ร่างกายจะมีอัตราการเผาผลาญสารอาหารต่าง ๆ ลดลง การนำสารอาหารไปใช้ในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย ตลอดจนการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ จะเป็นไปได้ไม่เต็มที่ ทำให้การเจริญเติบโตทางร่างกายหยุดชะงัก เติบโตช้าลงได้ ในผู้ใหญ่ มีอาการเกียจคร้าน อ่อนเพลีย เชื่องช้า ง่วงซึม ผิวหนังแห้ง ทนความหนาวเย็นไม่ค่อยได้ ท้องผูก เสียงแหบปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ในวัยเด็ก นอกจากอาการที่แสดงดังกล่าวแล้ว ยังพบอาการเชื่องช้า ทางจิตใจและเชาว์ปัญญาอีกด้วย ในวัยแรกเกิด มีความสำคัญและรุนแรงมากจะมีอาการทางสมองทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อน ไม่สามารถแก้ไขได้ เรียกว่าภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำในเด็กแรกเกิด

3. ครีตินนิซึม หรือเอ๋อ แม่ที่ขาดไอโอดีนขณะตั้งครรภ์ลูกที่คลอดออกมาจะมีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ ตั้งแต่แรกเกิด ถ้าแม่มีการขาดไอโอดีนรุนแรง อาจทำให้ทารกตายตัวตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือแท้ง หรือพิการตั้งแต่กำเนิด และถ้าทารกได้รับไอโอดีนน้อยกว่า 20ไมโครกรัม/วัน จะพบครีตินมิซึม เฉพาะในทารกจะแสดงอการผิดปกติทางร่างกายติดต่อไปจนโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ ลักษณะที่ 1 ผู้ป่วยมีสติปัญญาต่ำรุนแรง หูหนวก เป็นใบ้ มีความผิดปกติทางระบบประสาทเด่นชัด คือ การกระตุกตาเหล่ ท่าเดินผิดปกติ และกล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ลักษณะที่ 2 ผู้ป่วยมีสติปัญญาต่ำมาก การเจริญเติบโตทางร่างกายช้ามากจะเตี้ยแคระแกร็น ผิวหนังหนา ปวดกดไม่บุ๋มแต่หูไม่หนวก ไม่เป็นใบ้โดยทั่วไปต่อมไทรอยด์ไม่โต

การป้องกันการขาดสารไดโอดีน

1. เฝ้าระวังโรคขาดสารไอโอดีน เพื่อประเมินสถานการณ์ทางโรคโดย ก. ตรวจคอพอกในเด็กนักเรียนประจำปี ข. การตรวจหาระดับไทรอยด์สติบูเลติ้งฮอร์โมน (TSH) ในเลือดจากสายรกของทารกแรกเกิด ค. การตรวจหาระดับไอโอดีนในปัสสาวะของเด็กวัยเรียนในจุดที่มีระบาดสูง ทำปีละครั้ง

2. ให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องโรคขาดสารไอโอดีนอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นในเรื่องการใช้เกลือเสริมไอโอดีน และน้ำปลาเสริมไอโอดีน ในการปรุงอาหารอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน

3. การเสริมไอโอดีน

ก. การดื่มน้ำเสริมไอโอดีน ควรดื่มอย่างน้อยวันละ 4 แก้ว โดยหยดสารละลายไอโอดีนเข้มข้นที่บรรจุในขวดเดี่ยวมีหลอดหยด หยดลงในน้ำดื่มอัตราส่วน 2 หยดต่อน้ำ 10 ลิตร

ข. การใช้เกลือเสริมไอโอดีนปรุงอาหาร ควรใช้เกลือเสริมไอโอดีนประกอบอาหารอย่างน้อยวันละ 1 ช้อนชา หรือ 5 กรัมต่อคนต่อวัน เพื่อป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน

 

ค. การใช้น้ำปลาเสริมไอโอดีน สามารถใช้สารละลายไอโอดีนเข้มข้นที่บรรจุในขวดเดี่ยว หยดลงในน้ำปลา 6 หยด/ขวด

4. โรคขาดวิตามินเอ เป็นโรคที่พบในเด็กวัยทารก และเด็กวัยก่อนเรียน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่เป็นโรคขาดโปรตีนและกำลังงาน

สาเหตุ

1. เกิดจากการกินอาหารที่ขาดวิตามินเอ ซึ่งมีมากในผลไม้ ผักสีเขียว เหลือง ตับสัตว์ ไข่ นม นอกจากนี้อาจขาดอาหารอื่น ๆ ด้วย เช่น ไขมัน ซึ่งเป็นตัวช่วยในการดูดซึมและเก็บสะสมวิตามินเอในร่างกาย 2. การไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ใช้นมข้นหวานเลี้ยงทารกและไม่ได้รับอาหารตามวัยที่มีวิตามินเอผลของการขาด วิตามินเอ การขาดวิตามินเอ ก่อให้เกิดอาการ ดังนี้ 1. ทำให้การเจริญเติบโตของเด็กหยุดชะงัก อำนาจต้านทานโรคต่ำ 2. อาการทางตา จะมีอาการเสื่อมของการเห็นในที่มืด มีอาการตาฟางมองไม่ชัดเจนในเวลากลางคืนและในที่มืด ที่ตาขาวมีเกล็ดกระดี่เป็นกลุ่มฟองสบู่ ตาดำจะขุ่นขาวเป็นแผล และในที่สุดตาบอดสนิทอย่างถาวร 3. อาการที่เกี่ยวกับผิวหนัง ผิวหนังจะแห้งเป็นเกล็ด หรือเกิดเป็นตุ่มสาก ๆ บนผิวหนังเรียก Follicular hyperkeratosisโดยเฉพาะบริเวณข้อศอก หัวเข่า เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของตุ่มขุมขน ถ้าเป็นมาก ๆ ผิวหนังจะขรุขระ คล้ายหนังคางคก

การป้องกันการขาดวิตามินเอ

1. กินอาหารพวกผลไม้ ผักสีเขียวให้มาก พวกไข่ ตับ นม ร่วมกับการบริโภคอาหารที่มีไขมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกวัยก่อนเรียน หญิงมีครรภ์ และหญิงให้นมบุตร

2. ให้โภชนศึกษาแก่ประชาชน โดยการส่งเสริมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

            โรคที่เกี่ยวกับโรคขาดสารอาหาร

โรคขาดโปรตีน  โรคบิด  อหิวาตกโรค โรคขาดธาตุไอโอดีน

โรคขาดโปรตีฯ

สาเหตุ เกิดจาการขาดสารอาหารโปรตีน

 

อาการ

 ระยะแรก หลังเท้าเริ่มบวม จนในที่สุดก็บวมทั้งตัว อาจบวมมากจนมีน้ำในช่องท้องและช่องปอด ทำให้หายใจขัด

 ผิวหนังจะเกรียมเป็นสีดำไหม้ มีรอยแตกตามบริเวณที่ถูกเสียดสี ทำให้แบคทีเรียเข้าสู่รอยแตก

ผมจะแห้งกรอบ ร่วงง่าย

 เบื่ออาหาร ซึม

 มีการเปลี่ยนแปลงของส่วนประกอบภายในเซลล์ทุกเซลล์ของระบบต่างๆ เมื่อถึงกรณีนี้ แพทย์ก็ไม่สามารถรักษาได้

การป้องกัน

 เพิ่มอาหารโปรตีน และลดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต

 ส่งเสริมการเลี้ยงทารกให้ถูกต้อง

โรคบิด

สาเหตุ ดังนี้

-  เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดบาซิลลัส นิยมเรียกว่าบิดไม่มีตัว

-  เกิดจากเชื้อโปรโตซัวชนิดอะมีบยา นิยมเรียกว่าบิดมีตัว

อาการ

บิดไม่มีตัว

- ไม่มีอาการเลย แต่รู้สึกไม่สบายท้อง เพราะมีชื้อแบคทีเรียอยู่ในลำไส้

- มีอาการน้อย ถ่ายเหลวเป็นมูกเลือด และปวดบิดแต่ไม่มาก

 

- มีอาการรุนแรง ปวดท้องบิดอย่างรุนแรง มีไข้สูง อาเจียน ถ่ายมีมูกเลือดและหนองปน ถ่ายน้อยแต่บ่อยมาก ถ้าร่างกายอ่อนแอมีโอกาสชักได้

- โรคแทรกซ้อน เชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เลือดเป็นพิษ อาจช็อกจนเสียชีวิตได้,ลำไส้ใหญ่มีอาการอักเสบอย่างรุนแรง เกิดอาการเสียน้ำมากจนช็อกและเสียชีวิตได้

บิดมีตัว

- ไม่มีอาการเลย แต่รู้สึกไม่สบายท้อง ถ้าไปตรวจจะพบเชื้ออะมีบาในอุจจาระ

- มีอาการชนิดเฉียบพลัน ปวดบิด ถ่ายอุจจาระเหลว อุจจาระมีกลิ่นคล้ายหัวกุ้งเน่า อาการไม่รุนแรงเท่าบิดไม่มีตัว ถ้าผู้ป่วยมีความต้านทานโรคน้อย อาจมีไข้สูงและถ่ายเป็นมูกเลือดบ่อยมาก

- มีอาการเรื้อรัง เป็นผลมาจากบิดชนิดเฉียบพลัน แล้วไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เชื้ออะมีบาจึงตายไม่หมด ทำให้อาการไม่หายขาด และเป็นอยู่เรื่อยๆ

- โรคแทรกซ้อน ลำไส้ทะลุ เกิดแผลที่ลำไส้ใหญ่,เป็นฝีที่ตับ เพราะเชื้ออะมีบาเข้าไปในกระแสเลือดและไปที่ตับทำให้ตับอักเสบและเป็นฝี ฝีนี้อาจแตกทะลุเข้าปอด ทำให้เป็นฝีที่ปอดด้วย

การป้องกัน

- เมื่อมีอาการสงสัยว่าจะเปนโรคบิด ควรรีบไปพบแพทย์

- รับประทานอาหารที่สุก สะอาด

อหิวาตกโรค

สาเหตุ เกิดจากแบคทีเรียที่มีชื่อว่า วิบริโอ คอเลอเร สำหรับอหิวาตกโรคชนิดแท้ และแบคทีเรียชื่อ เอลเทอร์ วิบริโอ สำหรับอหิวาตกโรคชนิดเทียม ติดต่อโดยอยู่ในอุจจาระหรืออาเจียนของผู้ป่วย แพร่กระจายอยู่ในอาหารและน้ำดื่ม โดยมีแมลงวันเป็นพาหะนำโรค

อาการ

 ไม่มีอาการ จะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคเหล่านั้นไว้ เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคไปสู่ร่างกายคนอื่นได้

 

 อาการอย่างอ่อน ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำวันละหลายครั้ง อาการคล้ายท้องร่วง จะหายเป็นปกติภายใน 1-2 วัน

 อาการรุนแรง ปวดท้องรุนแรง ถ่ายอุจจาระเหลวคล้ายน้ำซาวข้าว มีกลิ่นคาว อาเจียน การถ่ายบ่อยทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ชีพจรเต้นเบาลง และเสียชีวิตได้

การป้องกัน

 จัดให้มีส้วมใช้ตามหลักสุขาภิบาล

 ดื่มและใช้น้ำที่สะอาด

 ล้างมือทุกครั้งก่อนทานอาหารและหลังจากเข้าส้วม

 ทานอาหารที่ปรุงเสร็จใหม่ๆ ห้ามรับประทานอาหารที่มีแมลงวันตอม หลีกเลี่ยงการกินอาหารสดระหว่างที่มีโรคระบาด

 เก็บภาชนะที่ใส่อาหารให้มิดชิด ไม่ให้แมลงวันไปตอมได้

 ทำลายขยะมูลฝอย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค และไม่ให้แมลงวันใช้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์

 ช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายและการป้องกันโรคนี้

 เมื่อมีผู้ป่วยโรคอหิวาตกโรคเกิดขึ้นที่บ้าน ให้นำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว และต้องรีบไปแจ้งความให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทราบภายในเวลา24ชั่วโมง

 รีบทำลายอุจจาระและอาเจียนของผู้ป่วย โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อราด หรือนำไปฝังหรือเผา เสื้อผ้าของผู้ป่วยควรนำไปต้มหรือใช้น้ำยาฆ่าเชื้อล้างให้สะอาด

 ในช่วงที่โรคอหิวาตกโรคระบาด ให้ทุกคนรีบฉีดวัคซีนป้องกัน

โรคขาดธาตุไอโอดีน

สาเหตุ ขาดธาตุไอโอดีน

 

อาการต่อมไทรอยด์ที่คอจะบวมโต ทำให้หายใจและกลืนอาหารลำบาก

การป้องกัน กินอาหารทะเล และใช้เกลืออนามัยประกอบอาหาร






วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

สุนทรภู่3


ความรู้และทักษะ

เมื่อพิจารณาจากผลงานต่างๆ ของสุนทรภู่ ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนนิราศหรือกลอนนิยาย สุนทรภู่มักแทรกสุภาษิต คำพังเพย คำเปรียบเทียบต่างๆ ทำให้ทราบว่าสุนทรภู่นี้ได้อ่านหนังสือมามาก จนสามารถนำเรื่องราวต่างๆ ที่ตนทราบมาแทรกเข้าไปในผลงานได้อย่างแนบเนียน เนื้อหาหลายส่วนในงานเขียนเรื่อง พระอภัยมณี ทำให้ทราบว่า สุนทรภู่มีความรอบรู้แตกฉานในสมุดภาพไตรภูมิ ทั้งเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่นำมาดัดแปลงประดิษฐ์เข้าไว้ในท้องเรื่อง เช่น การเรียกชื่อปลาทะเลแปลกๆ และการกล่าวถึงตราพระราหู[25]นอกจากนี้ยังมีความรอบรู้ในวรรณคดีประเทศต่างๆ เช่น จีน อาหรับ แขก ไทย ชวา เป็นต้น[26] นักวิชาการโดยมากเห็นพ้องกันว่า สุนทรภู่ได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีจีนเรื่อง ไซ่ฮั่นสามก๊ก วรรณคดีอาหรับ เช่น อาหรับราตรี รวมถึงเกร็ดคัมภีร์ไบเบิล เรื่องของหมอสอนศาสนา ตำนานเมืองแอตแลนติส ซึ่งสะท้อนให้เห็นอิทธิพลเหล่านี้อยู่ในผลงานเรื่อง พระอภัยมณี มากที่สุด[25]
สุนทรภู่ยังมีความรู้ด้านดาราศาสตร์ หรือการดูดาว โดยที่สัมพันธ์กับความรู้ด้านโหราศาสตร์ ด้วยปรากฏว่าสุนทรภู่เอ่ยถึงชื่อดวงดาวต่างๆ ด้วยภาษาโหร เช่น ดาวเรือไชยหรือดาวสำเภาทอง ดาวธง ดาวโลง ดาวกา ดาวหามผี ทั้งยังบรรยายถึงคำทำนายโบร่ำโบราณ[27] เช่น "แม้นดาวกามาใกล้ในมนุษย์ จะม้วยมุดมรณาเป็นห่าโหง"[28] ดังนี้เป็นต้น
การที่สุนทรภู่มีความรอบรู้มากมายและรอบด้านเช่นนี้ สันนิษฐานว่าสุนทรภู่น่าจะสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลด้านเอกสารสำคัญซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนค่อนข้างน้อยเนื่องจากเป็นช่วงหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาไม่นาน ทั้งนี้เนื่องมาจากตำแหน่งหน้าที่การงานของสุนทรภู่นั่นเอง นอกจากนี้การที่สุนทรภู่มีแนวคิดสมัยใหม่แบบตะวันตก จนได้สมญาว่าเป็น "มหากวีกระฎุมพี"[22] ย่อมมีความเป็นไปได้ที่สุนทรภู่ซึ่งมีพื้นอุปนิสัยใจคอกว้างขวางชอบคบคนมาก น่าจะได้รู้จักมักจี่กับชาวต่างประเทศและพ่อค้าชาวตะวันตก ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ เห็นว่าบางทีสุนทรภู่อาจจะพูดภาษาอังกฤษได้ก็เป็นได้[3] อันเป็นที่มาของการที่พระอภัยมณีและสินสมุทรสามารถพูดภาษาต่างประเทศได้หลายภาษา รวมถึงเรื่องราวโพ้นทะเลและชื่อดินแดนต่างๆ ที่เหล่านักเดินเรือน่าจะเล่าให้สุนทรภู่ฟัง[29]
แต่ไม่ว่าสุนทรภู่จะได้รับข้อมูลโพ้นทะเลจากเหล่าสหายของเขาหรือไม่ สุนทรภู่ก็ยังพรรณนาถึงเรื่องล้ำยุคล้ำสมัยมากมายที่แสดงถึงจินตนาการของเขาเอง อันเป็นสิ่งที่ยังไม่ได้ปรากฏหรือสำเร็จขึ้นในยุคสมัยนั้น เช่น ในผลงานเรื่อง พระอภัยมณี มีเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ที่สามารถปลูกตึกปลูกสวนไว้บนเรือได้ นางละเวงมีหีบเสียงที่เล่นได้เอง (ด้วยไฟฟ้า) หรือเรือสะเทินน้ำสะเทินบกของพราหมณ์โมรา สุนทรภู่ได้รับยกย่องว่าเป็นจินตกวีที่มีชื่อเสียงผู้หนึ่งแห่งยุคสมัย ปรากฏเนื้อความยืนยันอยู่ในหนังสือ ประวัติสุนทรภู่ของพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์) ความว่า "...ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น ฝ่ายจินตกวีมีชื่อคือหมายเอาสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเป็นประธานแล้ว มีท่านที่ได้รู้เรื่องราวในทางนี้กล่าวว่าพระองค์มีเอตทัคคสาวกในการสโมสรกาพย์กลอนโคลงฉัณท์อยู่ ๖ นาย คือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ๑ ท่านสุนทรภู่ ๑ นายทรงใจภักดิ์ ๑ พระยาพจนาพิมล (วันรัตทองอยู่) ๑ กรมขุนศรีสุนทร ๑ พระนายไวย ๑ ภายหลังเป็นพระยากรุง (ชื่อเผือก) ๑ ในหกท่านนี้แล ได้รับต้นประชันแข่งขันกันอยู่เสมอ..."[30]
ทักษะอีกประการหนึ่งของสุนทรภู่ได้แก่ ความเชี่ยวชำนาญในการเลือกใช้ถ้อยคำอย่างเหมาะสมเพื่อใช้พรรณนาเนื้อความในกวีนิพนธ์ของตน โดยเฉพาะในงานประพันธ์ประเภทนิราศ ทำให้ผู้อ่านแลเห็นภาพหรือได้ยินเสียงราวกับได้ร่วมเดินทางไปกับผู้ประพันธ์ด้วย สุนทรภู่ยังมีไหวพริบปฏิภาณในการประพันธ์ กล่าวได้ว่าไม่เคยจนถ้อยคำที่จะใช้ เล่าว่าครั้งหนึ่งเมื่อภิกษุภู่ออกจาริกจอดเรืออยู่ มีชาวบ้านนำภัตตาหารจะมาถวาย แต่ว่าคำถวายไม่เป็น ภิกษุภู่จึงสอนชาวบ้านให้ว่าคำถวายเป็นกลอนตามสิ่งของที่จะถวายว่า "อิมัสมิงริมฝั่ง อิมังปลาร้า กุ้งแห้งแตงกวา อีกปลาดุกย่าง ช่อมะกอกดอกมะปราง เนื้อย่างยำมะดัน ข้าวสุกค่อนขัน น้ำมันขวดหนึ่ง น้ำผึ้งครึ่งโถ ส้มโอแช่อิ่ม ทับทิมสองผล เป็นยอดกุศล สังฆัสสะ เทมิ"[9]
อันว่า "กวี" นั้นแบ่งได้เป็น 4 จำพวก[31] คือ จินตกวี ผู้แต่งโดยความคิดของตน สุตกวี ผู้แต่งตามที่ได้ยินได้ฟังมา อรรถกวี ผู้แต่งตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง และ ปฏิภาณกวีผู้มีความสามารถใช้ปฏิภาณแต่งกลอนสด เมื่อพิจารณาจากความรู้และทักษะทั้งปวงของสุนทรภู่ อาจลงความเห็นได้ว่า สุนทรภู่เป็นมหากวีเอกที่มีความสามารถครบทั้ง 4 ประการอย่างแท้จริง

[แก้]การสร้างวรรณกรรม

งานประพันธ์วรรณคดีในยุคก่อนหน้าสุนทรภู่ คือยุคอยุธยาตอนปลาย ยังเป็นวรรณกรรมสำหรับชนชั้นสูง ได้แก่ราชสำนักและขุนนาง เป็นวรรณกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อการอ่านและเพื่อความรู้หรือพิธีการ เช่น กาพย์มหาชาติ หรือ พระมาลัยคำหลวง[22] ทว่างานของสุนทรภู่เป็นการปฏิวัติการสร้างวรรณกรรมแห่งยุครัตนโกสินทร์ คือเป็นวรรณกรรมสำหรับคนทั่วไป เป็นวรรณกรรมสำหรับการฟังและความบันเทิง[22][32] เห็นได้จากงานเขียนนิราศเรื่องแรกคือ นิราศเมืองแกลง มีที่ระบุไว้ในตอนท้ายของนิราศว่า แต่งมาฝากแม่จัน รวมถึงใน นิราศพระบาท และ นิราศภูเขาทอง ซึ่งมีถ้อยคำสื่อสารกับผู้อ่านอย่างชัดเจน วรรณกรรมเหล่านี้ไม่ใช่วรรณกรรมสำหรับการศึกษา และไม่ใช่สำหรับพิธีการ
สำหรับวรรณกรรมที่สร้างขึ้นโดยหน้าที่ตามที่ได้รับพระบรมราชโองการ มีปรากฏถึงปัจจุบันได้แก่ เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม ในสมัยรัชกาลที่ 2 และเสภาพระราชพงศาวดาร ในสมัยรัชกาลที่ 4 ส่วนที่แต่งขึ้นเพื่อถวายแด่องค์อุปถัมภ์ ได้แก่ สิงหไตรภพ เพลงยาวถวายโอวาท สวัสดิรักษา บทเห่กล่อมพระบรรทม และ บทละครเรื่อง อภัยนุราช
งานประพันธ์ของสุนทรภู่เกือบทั้งหมดเป็นกลอนสุภาพ ยกเว้น พระไชยสุริยา ที่ประพันธ์เป็นกาพย์ และ นิราศสุพรรณ ที่ประพันธ์เป็นโคลง ผลงานส่วนใหญ่ของสุนทรภู่เกิดขึ้นในขณะตกยาก คือเมื่อออกบวชเป็นภิกษุและเดินทางจาริกไปทั่วประเทศ สุนทรภู่น่าจะได้บันทึกการเดินทางของตนเอาไว้เป็นนิราศต่างๆ จำนวนมาก แต่หลงเหลือปรากฏมาถึงปัจจุบันเพียง 9 เรื่องเท่านั้น เพราะงานเขียนส่วนใหญ่ของสุนทรภู่ถูกปลวกทำลายไปเสียเกือบหมดเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม[33]

[แก้]แนวทางการประพันธ์

สุนทรภู่ชำนาญงานประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพอย่างวิเศษ ได้ริเริ่มการใช้กลอนสุภาพมาแต่งกลอนนิทาน โดยมี โคบุตร เป็นเรื่องแรก ซึ่งแต่เดิมมากลอนนิทานเท่าที่ปรากฏมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาล้วนแต่เป็นกลอนกาพย์ทั้งสิ้น[9] นายเจือ สตะเวทิน ได้กล่าวยกย่องสุนทรภู่ในการริเริ่มใช้กลอนสุภาพบรรยายเรื่องราวเป็นนิทานว่า "ท่านสุนทรภู่ ได้เริ่มศักราชใหม่แห่งการกวีของเมืองไทย โดยสร้างโคบุตรขึ้นด้วยกลอนสุภาพ นับตั้งแต่เดิมมา เรื่องนิทานมักเขียนเป็นลิลิต ฉันท์ หรือกาพย์ สุนทรภู่เป็นคนแรกที่เสนอศิลปะของกลอนสุภาพ ในการสร้างนิทานประโลมโลก และก็เป็นผลสำเร็จ โคบุตรกลายเป็นวรรณกรรมแบบฉบับที่นักแต่งกลอนทั้งหลายถือเป็นครู นับได้ว่า โคบุตรมีส่วนสำคัญยิ่งในประวัติวรรณคดีของชาติไทย"[34]
สุนทรภู่ยังได้ปฏิวัติขนบการประพันธ์นิราศด้วย ด้วยแต่เดิมมาขนบการเขียนนิราศยังนิยมเขียนเป็นโคลง ลักษณะการประพันธ์แบบเพลงยาว (คือการประพันธ์กลอน) ยังไม่เรียกว่า นิราศ แม้นิราศรบพม่าที่ท่าดินแดง เดิมก็เรียกว่าเป็นเพลงยาวจดหมายเหตุ มาเปลี่ยนการเรียกเป็นนิราศในชั้นหลัง สุนทรภู่เป็นผู้ริเริ่มการแต่งกลอนนิราศเป็นคนแรกและทำให้กลอนนิราศเป็นที่นิยมแพร่หลาย[35] โดยการนำรูปแบบของเพลงยาวจดหมายเหตุมาผสมกับคำประพันธ์ประเภทกำสรวล[22] กลวิธีการประพันธ์ที่พรรณนาความระหว่างเส้นการเดินทางกับประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิตก็เป็นลักษณะเฉพาะของสุนทรภู่ ซึ่งผู้อื่นจะประพันธ์ในแนวทางเดียวกันนี้ให้ได้ใจความไพเราะและจับใจเท่าสุนทรภู่ก็ยังยาก มิใช่แต่เพียงฝีมือกลอนเท่านั้น ทว่าประสบการณ์ของผู้ประพันธ์จะเทียบกับสุนทรภู่ก็มิได้[35] ด้วยเหตุนี้กลอนนิราศของสุนทรภู่จึงโดดเด่นเป็นที่รู้จักยิ่งกว่ากลอนนิราศของผู้ใด และเป็นต้นแบบของการแต่งนิราศในเวลาต่อมา[9]
อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากงานกลอน สุนทรภู่ก็มีงานประพันธ์ในรูปแบบอื่นอีก เช่น พระไชยสุริยา ที่ประพันธ์เป็นกาพย์ทั้งหมด ประกอบด้วยกาพย์ยานี กาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์ ส่วน นิราศสุพรรณ เป็นนิราศเพียงเรื่องเดียวที่แต่งเป็นโคลง ชะรอยจะแต่งเพื่อลบคำสบประมาทว่าแต่งได้แต่เพียงกลอน แต่การแต่งโคลงคงจะไม่ถนัด เพราะไม่ปรากฏว่าสุนทรภู่แต่งกวีนิพนธ์เรื่องอื่นใดด้วยโคลงอีก

[แก้]วรรณกรรมอันเป็นที่เคลือบแคลง

ในอดีตเคยมีความเข้าใจกันว่า สุนทรภู่เป็นผู้แต่ง นิราศพระแท่นดงรัง[9] แต่ต่อมา ธนิต อยู่โพธิ์ ผู้เชี่ยวชาญวรรณคดีไทยและอดีตอธิบดีกรมศิลปากร ได้แสดงหลักฐานพิเคราะห์ว่าสำนวนการแต่งนิราศพระแท่นดงรัง ไม่น่าจะใช่ของสุนทรภู่ เมื่อพิจารณาประกอบกับเนื้อความ เปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในชีวิตของสุนทรภู่ และกระบวนสำนวนกลอนแล้ว จึงสรุปได้ว่า ผู้แต่งนิราศพระแท่นดงรัง คือ นายมี หรือ เสมียนมี หมื่นพรหมสมพักสร ผู้แต่งนิราศถลาง[36]
วรรณกรรมอีกชิ้นหนึ่งที่คาดว่าไม่ใช่ฝีมือแต่งของสุนทรภู่ คือ สุภาษิตสอนหญิง แต่น่าจะเป็นผลงานของนายภู่ จุลละภมร ซึ่งเป็นศิษย์[10] เนื่องจากงานเขียนของสุนทรภู่ฉบับอื่นๆ ไม่เคยขึ้นต้นด้วยการไหว้ครู ซึ่งแตกต่างจากสุภาษิตสอนหญิงฉบับนี้
นอกจากนี้ยังมีวรรณกรรมอื่นๆ ที่สงสัยว่าอาจจะเป็นผลงานของสุนทรภู่ ได้แก่ เพลงยาวสุภาษิตโลกนิติ ตำรายาอัฐกาล (ตำราบอกฤกษ์ยามเดินทาง) สุบินนิมิตคำกลอน และตำราเศษนารี[10]

[แก้]การตีพิมพ์ เผยแพร่ และดัดแปลงผลงาน

ในยุคสมัยของสุนทรภู่ การเผยแพร่งานเขียนจะเป็นไปได้โดยการคัดลอกสมุดไทย ซึ่งผู้คัดลอกจ่ายค่าเรื่องให้แก่ผู้ประพันธ์ ดังที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้สันนิษฐานไว้ว่า สุนทรภู่แต่งเรื่อง พระอภัยมณี ขายเพื่อเลี้ยงชีพ[9] ดังนี้จึงปรากฏงานเขียนของสุนทรภู่ที่เป็นฉบับคัดลอกปรากฏตามที่ต่างๆ หลายแห่ง จนกระทั่งถึงช่วงวัยชราของสุนทรภู่ การพิมพ์จึงเริ่มเข้ามายังประเทศไทย โดยมีสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามงกุฎทรงให้การสนับสนุน โรงพิมพ์ในยุคแรกเป็นโรงพิมพ์หลวง ตีพิมพ์หนังสือราชการเท่านั้น ส่วนโรงพิมพ์ที่พิมพ์หนังสือทั่วไปเริ่มขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 (ตั้งแต่ พ.ศ. 2401 เป็นต้นไป) [37]
โรงพิมพ์ของหมอสมิทที่บางคอแหลม เป็นผู้นำผลงานของสุนทรภู่ไปตีพิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2413 คือเรื่อง พระอภัยมณี ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างสูง ขายดีมากจนหมอสมิทสามารถทำรายได้สูงขนาดสร้างตึกเป็นของตัวเองได้ หลังจากนั้นหมอสมิทและเจ้าของโรงพิมพ์อื่นๆ ก็พากันหาผลงานเรื่องอื่นของสุนทรภู่มาตีพิมพ์จำหน่ายซ้ำอีกหลายครั้ง[9]ผลงานของสุนทรภู่ได้ตีพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 จนหมดทุกเรื่อง[9] แสดงถึงความนิยมเป็นอย่างมาก สำหรับเสภาเรื่อง พระราชพงศาวดาร กับ เพลงยาวถวายโอวาท ได้ตีพิมพ์เท่าที่จำกันได้ เพราะต้นฉบับสูญหาย จนกระทั่งต่อมาได้ต้นฉบับครบบริบูรณ์จึงพิมพ์ใหม่ตลอดเรื่องในสมัยรัชกาลที่ 6[9]

[แก้]การแปลผลงานเป็นภาษาอื่น

ผลงานของสุนทรภู่ได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ดังนี้

[แก้]งานดัดแปลง

ใบปิดภาพยนตร์การ์ตูน "สุดสาคร" ของปยุต เงากระจ่าง

[แก้]ละคร

มีการนำกลอนนิทานเรื่อง สิงหไตรภพ มาดัดแปลงเป็นละครหลายครั้ง โดยมากมักเปลี่ยนชื่อเป็น สิงหไกรภพ โดยเป็นละครโทรทัศน์แนวจักร ๆ วงศ์ ๆ และละครเพลงร่วมสมัยโดยภัทราวดีเธียเตอร์[40] นอกจากนี้มีเรื่อง ลักษณวงศ์ และพระอภัยมณี ที่มีการนำเนื้อหาบางส่วนมาดัดแปลง ตอนที่นิยมนำมาดัดแปลงมากที่สุดคือ เรื่องของสุดสาคร
ลักษณวงศ์ ยังได้นำไปแสดงเป็นละครนอก โดยศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี ในปี พ.ศ. 2552 มีกำหนดการแสดงหลายรอบในเดือนพฤศจิกายน[41]

[แก้]ภาพยนตร์

  • พ.ศ. 2509 ภาพยนตร์ พระอภัยมณี ฉบับของ ครูรังสี ทัศนพยัคฆ์ นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา - เพชรา เชาวราษฎร์
  • พ.ศ. 2522 ภาพยนตร์การ์ตูน "สุดสาคร" ผลงานสร้างของ ปยุต เงากระจ่าง
  • พ.ศ. 2545 ภาพยนตร์ พระอภัยมณี ผลิตโดย ซอฟต์แวร์ ซัพพลายส์ อินเตอร์เนชั่ลแนล กำกับโดย ชลัท ศรีวรรณา จับความตั้งแต่เริ่มเรื่อง ไปจนถึงตอน นางเงือกพาพระอภัยมณีหนีจากนางผีเสื้อสมุทร และพระอภัยมณีเป่าปี่สังหารนาง
  • พ.ศ. 2549 โมโนฟิล์ม ได้สร้างภาพยนตร์จากเรื่อง พระอภัยมณี เรื่อง สุดสาคร โดยจับความตั้งแต่กำเนิดสุดสาคร จนสิ้นสุดที่การเดินทางออกจากเมืองการะเวกเพื่อติดตามหาพระอภัยมณี
  • พ.ศ. 2549 ภาพยนตร์การ์ตูน เรื่อง สิงหไกรภพ ความยาว 40 นาที

[แก้]เพลง

บทประพันธ์จากเรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีเกี้ยวนางละเวง ได้นำไปดัดแปลงเล็กน้อยกลายเป็นเพลง "คำมั่นสัญญา" ประพันธ์ทำนองโดย สุรพล แสงเอก บันทึกเสียงครั้งแรกโดย ปรีชา บุญยเกียรติ ใจความดังนี้
ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทรไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้อยู่ในใต้หล้าสุธาธารขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา
แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพพี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมราเชยผกาโกสุมปทุมทอง
แม้เป็นถ้ำอำไพใคร่เป็นหงส์จะร่อนลงสิงสู่เป็นคู่สอง[note 2]
ขอติดตามทรามสงวนนวลละอองเป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป... 
อีกเพลงหนึ่งคือเพลง "รสตาล" ของครูเอื้อ สุนทรสนาน คำร้องโดยสุรพล โทณะวนิก ซึ่งใช้นามปากกาว่า วังสันต์[42] ได้แรงบันดาลใจจากบทกลอนของสุนทรภู่ เรื่อง นิราศพระบาท[43] เนื้อหาดังนี้
เจ้าของตาลรักหวานขึ้นปีนต้นเพราะดั้นด้นอยากลิ้มชิมรสหวาน
ครั้นได้รสสดสาวจากจาวตาลย่อมซาบซ่านหวานซึ้งตรึงถึงทรวง
ไหนจะยอมให้เจ้าหล่นลงเจ็บอกเพราะอยากวกขึ้นลิ้นชิมของหวง
อันรสตาลหวานละม้ายคล้ายพุ่มพวงพี่เจ็บทรวงช้ำอกเหมือนตกตาล... 

[แก้]หนังสือและการ์ตูน

งานเขียนของสุนทรภู่โดยเฉพาะกลอนนิทานเรื่อง พระอภัยมณี จะถูกนำมาเรียบเรียงเขียนใหม่โดยนักเขียนจำนวนมาก เช่น พระอภัยมณีฉบับร้อยแก้ว ของเปรมเสรี หรือหนังสือการ์ตูน อภัยมณีซาก้า อีกเรื่องหนึ่งที่มีการนำมาสร้างใหม่เป็นหนังสือการ์ตูนคือ สิงหไตรภพ ในหนังสือ ศึกอัศจรรย์สิงหไกรภพ ที่เขียนใหม่เป็นการ์ตูนแนวมังงะ

[แก้]ชื่อเสียงและคำวิจารณ์

สุนทรภู่นับเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างวรรณคดีประเภทร้อยกรอง หรือ "กลอน" ให้เป็นที่นิยมแพร่หลาย ทั้งยังวางจังหวะวิธีในการประพันธ์แบบใหม่ให้แก่การแต่งกลอนสุภาพด้วย เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีรัตนโกสินทร์ ยกย่องความสามารถของสุนทรภู่ว่า "พระคุณครูศักดิ์สิทธิ์คิดสร้างสรรค์ ครูสร้างคำแปดคำให้สำคัญ"[7]
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ในหนังสือ "ประวัติสุนทรภู่" ว่าด้วยเกียรติคุณของสุนทรภู่ว่า "ถ้าจะลองให้เลือกกวีไทยบรรดาที่มีชื่อเสียงปรากฏมาในพงศาวดารคัดเอาแต่ที่วิเศษสุดเพียง 5 คน ใครๆ เลือกก็เห็นจะเอาชื่อสุนทรภู่ไว้ในกวีห้าคนนั้นด้วย"[9] เปลื้อง ณ นคร ได้รวบรวมประวัติวรรณคดีไทยในยุคสมัยต่างๆ นับแต่สมัยสุโขทัยไปจนถึงสมัยรัฐธรรมนูญ (คือสมัยปัจจุบันในเวลาที่ประพันธ์) โดยได้ยกย่องว่า "สมัยพุทธเลิศหล้าเป็นจุดยอดแห่งวรรณคดีประเภทกาพย์กลอน ต่อจากสมัยนี้ระดับแห่งกาพย์กลอนก็ต่ำลงทุกที จนอาจกล่าวได้ว่า เราไม่มีหวังอีกแล้วที่จะได้คำกลอนอย่างเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน และเรื่องพระอภัยมณี"[44] โดยที่ในสมัยดังกล่าวมีสุนทรภู่เป็น "บรมครูทางกลอนแปดและกวีเอก"[44] ซึ่งสร้างผลงานอันเป็นที่รู้จักและนิยมแพร่หลายในหมู่ประชาชน ทั้งนี้เนื่องจากกวีนิพนธ์ในยุคก่อนมักเป็นคำฉันท์หรือลิลิตซึ่งประชาชนเข้าไม่ถึง สุนทรภู่ได้ปฏิวัติงานกวีนิพนธ์และสร้างขนบการแต่งกลอนแบบใหม่ขึ้นมา จนเป็นที่เรียกกันทั่วไปว่า "กลอนตลาด" เพราะเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่ชาวบ้านนั่นเอง[44]
นิธิ เอียวศรีวงศ์ เห็นว่า สุนทรภู่น่าจะเป็นผู้มีอิทธิพลอย่างมากในสังคมกระฎุมพีช่วงต้นรัตนโกสินทร์ กระฎุมพีเหล่านี้ล้วนเป็นผู้เสพผลงานของสุนทรภู่ และเห็นสาเหตุหนึ่งที่ผลงานของสุนทรภู่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีเพราะสอดคล้องกับความคิดความเชื่อของผู้อ่านนั่นเอง[22]
นอกเหนือจากความนิยมในหมู่ประชาชนชาวสยาม ชื่อเสียงของสุนทรภู่ยังแพร่ไปไกลยิ่งกว่ากวีใดๆ ใน เพลงยาวถวายโอวาท สุนทรภู่กล่าวถึงตัวเองว่า
"อย่างหม่อมฉันอันที่ดีและชั่ว ถึงลับตัวแต่ก็ชื่อเขาลือฉาว เป็นอาลักษณ์นักเลงทำเพลงยาว เขมรลาวลือเลื่องถึงเมืองนคร"[18]
ข้อความนี้ทำให้ทราบว่า ชื่อเสียงของสุนทรภู่เลื่องลือไปไกลนอกเขตราชอาณาจักรไทย แต่ไปถึงอาณาจักรเขมรและเมืองนครศรีธรรมราชทีเดียว
คุณวิเศษแห่งความเป็นกวีของสุนทรภู่จึงอยู่ในระดับกวีเอกของชาติ ศจ.เจือ สตะเวทิน เอ่ยถึงสุนทรภู่โดยเปรียบเทียบกับกวีเอกของประเทศต่างๆ ว่า "สุนทรภู่มีศิลปะไม่แพ้ลามาตีน ฮูโก หรือบัลซัคแห่งฝรั่งเศส... มีจิตใจและวิญญาณสูง อาจจะเท่าเฮเนเลนอ แห่งเยอรมนี หรือลิโอปารดี และมันโซนีแห่งอิตาลี"[7] สุนทรภู่ยังได้รับยกย่องว่าเป็น "เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย"[1] งานวิจัยทุนฟุลไบรท์-เฮย์ส ของคาเรน แอนน์ แฮมิลตัน ได้เปรียบเทียบสุนทรภู่เสมือนหนึ่งเชกสเปียร์หรือชอเซอร์แห่งวงการวรรณกรรมไทย[45]

[แก้]เกียรติคุณและอนุสรณ์

[แก้]บุคคลสำคัญของโลก (ด้านวรรณกรรม)

ปี พ.ศ. 2529 ในโอกาสครบรอบวันเกิด 200 ปีของสุนทรภู่ องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้สุนทรภู่ เป็นบุคคลสำคัญของโลกทางด้านวรรณกรรม นับเป็นชาวไทยคนที่ 5 และเป็นสามัญชนชาวไทยคนแรกที่ได้รับเกียรตินี้ ในปีนั้น สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์จึงได้จัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือ "อนุสรณ์สุนทรภู่ 200 ปี" และมีการจัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้นเพื่อส่งเสริมกิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแพร่ชีวิตและผลงานของสุนทรภู่ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น

[แก้]อนุสาวรีย์และหุ่นปั้น

อนุสาวรีย์สุนทรภู่ที่ วัดศรีสุดาราม
อนุสาวรีย์สุนทรภู่แห่งแรก สร้างขึ้นที่ ต.กร่ำ อ.แกลง จ.ระยอง ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านบิดาของสุนทรภู่ โดยวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2498 อันเป็นปีที่ครบรอบ 100 ปีการเสียชีวิตของสุนทรภู่ และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 ภายในอนุสาวรีย์มีหุ่นปั้นของสุนทรภู่ และตัวละครในวรรณคดีเรื่องเอกของท่านคือ พระอภัยมณี ที่ด้านหน้าอนุสาวรีย์มี หมุดกวี หมุดที่ 24 ปักอยู่[46]
ยังมีอนุสาวรีย์สุนทรภู่ที่จังหวัดอื่นๆ อีก ได้แก่ ที่ท่าน้ำหลังวัดพลับพลาชัย ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นจุดที่สุนทรภู่ได้เคยมาตามนิราศเมืองเพชร อันเป็นนิราศเรื่องสุดท้ายของท่าน และเชื่อว่าเพชรบุรีเป็นบ้านเกิดของมารดาของท่านด้วย[47] อนุสาวรีย์อีกแห่งหนึ่งตั้งอยู่ที่วัดศรีสุดาราม เนื่องจากเป็นสถานที่ที่เชื่อว่าท่านได้เล่าเรียนเขียนอ่านเมื่อวัยเยาว์ที่นี่ นอกจากนี้มีรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งสุนทรภู่ ตลอดจนหุ่นขี้ผึ้งในวรรณคดีเรื่อง พระอภัยมณี จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย จังหวัดนครปฐม

[แก้]พิพิธภัณฑ์

กุฏิสุนทรภู่ หรือพิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ ตั้งอยู่ที่วัดเทพธิดาราม ถ.มหาไชย กรุงเทพฯ เป็นอาคารซึ่งปรับปรุงจากกุฏิที่สุนทรภู่เคยอาศัยอยู่เมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่นี่ [48] ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย และมีการจัดกิจกรรมวันสุนทรภู่เป็นประจำทุกปี

[แก้]วันสุนทรภู่

หลังจากองค์การยูเนสโกได้ประกาศยกย่องให้สุนทรภู่เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวรรณกรรมระดับโลกเมื่อปี พ.ศ. 2529 ต่อมาในปีพ.ศ. 2530 นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้จัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้น และกำหนดให้วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี เป็น วันสุนทรภู่[49] นับแต่นั้นทุกๆ ปีเมื่อถึงวันสุนทรภู่ จะมีการจัดงานรำลึกถึงสุนทรภู่ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ที่พิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ วัดเทพธิดาราม และที่จังหวัดระยอง (ซึ่งมักจัดพร้อมงานเทศกาลผลไม้จังหวัดระยอง) รวมถึงการประกวดแต่งกลอน ประกวดคำขวัญ และการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับสุนทรภู่ในโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ

[แก้]รายชื่อผลงาน

งานประพันธ์ของสุนทรภู่เท่าที่มีการค้นพบในปัจจุบันมีปรากฏอยู่เพียงจำนวนหนึ่ง และสูญหายไปอีกเป็นจำนวนมาก ถึงกระนั้นตามจำนวนเท่าที่ค้นพบก็ถือว่ามีปริมาณค่อนข้างมาก เรียกได้ว่า สุนทรภู่เป็น "นักเลงกลอน" ที่สามารถแต่งกลอนได้รวดเร็วหาตัวจับยาก ผลงานของสุนทรภู่เท่าที่ค้นพบในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้

[แก้]นิราศ

  • นิราศเมืองแกลง (พ.ศ. 2349) - แต่งเมื่อหลังพ้นโทษจากคุก และเดินทางไปหาพ่อที่เมืองแกลง
  • นิราศพระบาท (พ.ศ. 2350) - แต่งหลังจากกลับจากเมืองแกลง และต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีในวันมาฆบูชา
  • นิราศภูเขาทอง (ประมาณ พ.ศ. 2371) - แต่งโดยสมมุติว่า เณรหนูพัด เป็นผู้แต่ง ไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่จังหวัดอยุธยา
  • นิราศสุพรรณ (ประมาณ พ.ศ. 2374) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผลงานเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลง
  • นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ. 2375) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะตามลายแทงที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ (ไม่ปรากฏว่าที่จริงคือวัดใด) ที่จังหวัดอยุธยา
  • นิราศอิเหนา (ไม่ปรากฏ, คาดว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ 3) - แต่งเป็นเนื้อเรื่องอิเหนารำพันถึงนางบุษบา
  • รำพันพิลาป (พ.ศ. 2385) - แต่งเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม แล้วเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จึงบันทึกความฝันพร้อมรำพันความอาภัพของตัวไว้เป็น "รำพันพิลาป" จากนั้นจึงลาสิกขาบท
  • นิราศพระประธม (พ.ศ. 2385) - เชื่อว่าแต่งเมื่อหลังจากลาสิกขาบทและเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปนมัสการพระประธมเจดีย์ (หรือพระปฐมเจดีย์) ที่เมืองนครชัยศรี
  • นิราศเมืองเพชร (พ.ศ. 2388) - แต่งเมื่อเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อว่าไปธุระราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง นิราศเรื่องนี้มีฉบับค้นพบเนื้อหาเพิ่มเติมซึ่ง อ.ล้อม เพ็งแก้ว เชื่อว่า บรรพบุรุษฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชรบุรี

[แก้]นิทาน

  • โคบุตร : เชื่อว่าเป็นงานประพันธ์ชิ้นแรกของสุนทรภู่[9] เป็นเรื่องราวของ "โคบุตร" ซึ่งเป็นโอรสของพระอาทิตย์กับนางอัปสร แต่เติบโตขึ้นมาด้วยการเลี้ยงดูของนางราชสีห์
  • พระอภัยมณี : คาดว่าเริ่มประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 และแต่งๆ หยุดๆ เรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นผลงานชิ้นเอกของสุนทรภู่ ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็นสุดยอดวรรณคดีไทยประเภทกลอนนิทาน
  • พระไชยสุริยา : เป็นนิทานที่สุนทรภู่แต่งด้วยฉันทลักษณ์ประเภทกาพย์หลายชนิด ได้แก่ กาพย์ยานี 11 กาพย์ฉบัง 16 และกาพย์สุรางคนางค์ 28 เป็นนิทานสำหรับสอนอ่าน เนื้อหาเรียงลำดับความง่ายไปยาก จากแม่ ก กา แม่กน กง กก กด กบ กม และเกย เชื่อว่าแต่งขึ้นประมาณ พ.ศ. 2383 - 2385
  • ลักษณวงศ์ : เป็นนิทานแนวจักรๆ วงศ์ๆ ที่นำโครงเรื่องมาจากนิทานพื้นบ้าน แต่มีตอนจบที่แตกต่างไปจากนิทานทั่วไปเพราะไม่ได้จบด้วยความสุข แต่จบด้วยงานสมโภชศพนางทิพเกสร ชายาของลักษณวงศ์ที่สิ้นชีวิตด้วยการสั่งประหารของลักษณวงศ์เอง
  • สิงหไกรภพ : เชื่อว่าเริ่มประพันธ์เมื่อครั้งถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์ ภายหลังจึงแต่งถวายกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ และน่าจะหยุดแต่งหลังจากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพสิ้นพระชนม์ สิงหไตรภพเป็นตัวละครเอกที่แตกต่างจากตัวพระในเรื่องอื่นๆ เนื่องจากเป็นคนรักเดียวใจเดียว

[แก้]สุภาษิต

  • สวัสดิรักษา : คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์
  • เพลงยาวถวายโอวาท : คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว
  • สุภาษิตสอนหญิง : เป็นหนึ่งในผลงานซึ่งยังเป็นที่เคลือบแคลงว่า สุนทรภู่เป็นผู้ประพันธ์จริงหรือไม่

[แก้]บทละคร

มีการประพันธ์ไว้เพียงเรื่องเดียวคือ อภัยนุราช ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อถวายพระองค์เจ้าดวงประภา พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

[แก้]บทเสภา

[แก้]บทเห่กล่อมพระบรรทม

น่าจะแต่งขึ้นสำหรับใช้ขับกล่อมหม่อมเจ้าในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ กับพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว[7] เท่าที่พบมี 4 เรื่องคือ