ภาพสวยๆ
http://writer.dek-d.com/bananajub555/writer/view.php?id=797107
วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ร.ศ. 112
ค.ศ.1907 (พ.ศ.2450) เป็นปีที่ฝรั่งเศสได้พื้นที่อาณานิคมอย่างสมบูรณ์โดย พ.ศ.2449 ไทยต้องยกดินแดนต่างๆให้ฝรั่งเศสโดยแลกกับเมืองจันทบุรี เมืองตราด เกาะกง และเมืองด่านซ้าย
ในยุคล่าอาณานิคม ประเทศไทยได้เสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสรวม 5 ครั้ง เป็นพื้นที่ทั้งสิ้น 481,600 ตารางกิโลเมตร นับตั้งแต่ปลายรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ โดยไทยต้องยินยอมเสียดินแดนบางส่วนไป เพื่อรักษาเอกราชและดินแดนส่วนใหญ่ไว้ ทำให้พื้นที่ประเทศไทยเหลืออยู่เพียง 513,600 ตารางกิโลเมตร
ดินแดนที่เสียไปตามลำดับมีดังนี้
1. แคว้นกัมพูชา เมื่อปี พ.ศ. 2410
2. แคว้นสิบสองจุไทย เมื่อปี พ.ศ. 2431 เป็นพื้นที่ 87,000 ตารางกิโลเมตร
3. ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง อันได้แก่ ประเทศลาวปัจจุบัน ในพื้นที่เมืองหลวงพระบาง เมืองเวียงจันทร์ และอาณาเขตนครจัมปาศักดิ์ตะวันออก ตลอดจนบรรดาเกาะต่าง ๆ ในแม่น้ำโขง เมื่อปี พ.ศ. 2436 หรือที่รู้จักกันดีคือ ร.ศ. 112 เป็นพื้นที่ 143,000 ตารางกิโลเมตร
4. ดินแดนทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง บริเวณที่อยู่ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง และตรงข้ามเมืองปากเซ เมื่อปี พ.ศ. 2446 เป็นพื้นที่ 62,000 ตารางกิโลเมตร เพื่อแลกกับเมืองจันทบุรี ที่ฝรั่งเศสยึดไว้เมื่อ ร.ศ. 112
5. มณฑลบูรพา ได้แก่ พื้นที่เมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ เมื่อปี พ.ศ. 2449 เป็นพื้นที่ 51,000 ตารางกิโลเมตร เพื่อแลกกับเมืองตราด เกาะกง และเมืองด่านซ้าย พร้อมทั้งอำนาจศาลไทย ต่อคนในบังคับฝรั่งเศส
ต่อมาประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส ได้ทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับรัสเซีย เพื่อเตรียมรับสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษและฝรั่งเศสจึงได้ประชุมพิจารณาปรองดองกัน ในปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับอาณานิคมโดยทั่วไป สำหรับประเทศไทยนั้นได้ตกลงแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
ส่วนที่ 1 เป็นพื้นที่ภาคตะวันออก ตั้งแต่มณฑลนครราชสีมาไปทางตะวันออกทั้งหมด เป็นเขตผลประโยชน์ของฝรั่งเศส
ส่วนที่ 2 เป็นพื้นที่ด้านตะวันตกของมณฑลราชบุรีลงไป เป็นเขตผลประโยชน์ของอังกฤษ
ส่วนที่ 3 คงเหลือเฉพาะพื้นที่ภาคกลางคงเป็นของไทย
สัญญานี้ทำกันเมื่อปี ค.ศ. 1911 แต่เนื่องจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 มหาประเทศคู่สงคราม ต่างพากันอ่อนกำลังลงไป นอกจากนี้ การที่ประเทศไทยเข้าร่วมสงคราม โดยอยู่ทางฝ่ายพันธมิตร ซึ่งเป็นฝ่ายชนะ จึงทำให้มีฐานมั่นคงขึ้น
การเสียดินแดนเมื่อ ร.ศ. 112
เป็นการเสียดินแดนครั้งนี้ ฝรั่งเศสได้ถือโอกาสที่เกิดเรื่องกระทบกระทั่งกันทางชายแดน ได้ส่งเรืรบ 2 ลำ เข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 โดยใช้เรือพาณิชย์นำร่องเข้ามาถึงพระนคร แล้วยื่นเงื่อนไขคำขาดกับไทย
ฝ่าย อังกฤษ เห็นพฤติกรรมฝรั่งเศส ที่จะยึดประเทศไทยโดยสิ้นเชิง ก็เข้าประท้วงคุมเชิงอยู่ ฝ่ายรัสเซียพระเจ้าซาร์นิโคลาส ได้มีพระราชโทรเลขไปยังรัฐบาลฝรั่งเศส ให้ยับยั้งการยึดครองประเทศไทย ฝรั่งเศสจึงยอมถอยเรือ กลับไปตามสัญญาลง 3 ธันวาคม 2435 แต่ได้ยึดครองดินแดนฝั่งแม่น้ำโขงไว้โดยสิ้นเชิง
กับเรียกค่าทำขวัญอีก 3 ล้านบาท กับเงินฝรั่งเศสอีก 2 ล้านฟรังค์ พร้อมทั้งยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นประกัน 10 ปี รวมทั้งให้ดำเนินคดี พระยอดเมืองขวาง ที่มีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส
ครั้นครบกำหนด 10 ปี ฝรั่งเศสไม่ยอมถอนทหารออกจากจันทบุรี แล้วกลับตั้งเงื่อนไขเรียกร้องให้ยกเขต จัมปาศักดิ์ ให้แก่ฝรั่งเศสอีก รัฐบาลไทยต้องจำยอมตามสัญญาลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2446 แต่แล้วฝรั่งเศสก็ถอยไปยึดจังหวัดตราด และเรียกร้องให้ไทยยอมยกดินแดน 4 จังหวัด เมื่อปี พ.ศ. 2449 เพื่อให้ฝรั่งเศสถอนทหารออกไปจากแผ่นดินไทย รัฐบาลไทยจึงต้องยอมยกให้ไป
ในวันที่ 3 เดือนตุลาคมของปีนั้น(ร.ศ.112/ พ.ศ.2436) ได้เกิดข้อตกลงที่เรียกว่า "สนธิสัญญาสันติภาพ"
ประเด็นสำคัญของสนธิสัญญาดังกล่าวกำหนดให้
1.สยามต้องจ่ายค่าเสียหายที่ไม่เป็นธรรมจำนวน 3 ล้านฟรังก์
2.สยามยกพื้นที่ประมาณ 40,000-50,000 ตารางกิโลเมตร ให้แก่ฝรั่งเศส
3.ฝรั่งเศสยึดเอาจันทบุรีกับตราดไปไว้ในอารักขาอีกนานกว่า 10 ปี (พ.ศ.2436-2447)*สยามบนปากเหว*
ด้วย มูลค่าความเสียหายที่นับเป็นเม็ดเงินจำนวนมหาศาล บวกกับมูลค่าความเสียหายทางสังคม ทางจิตวิญญาณ เหตุการณ์ที่ผ่านมาร้อยกว่าปี จึงยังคงเป็นกรณีศึกษาคลาสสิคที่ควรแก่การศึกษา โดยนำเสนอบริบทข้างเคียงของเหตุการณ์ จากหนังสือที่บันทึกเหตุการณ์ดังกล่าวและพิมพ์ขึ้นในยุคนั้น ซึ่งประกอบด้วย
1.Five years in Siam ของเฮอร์เบิร์ต วาริงตัน สมิธ
2.Siam in the Twentieth Century ของ เจ.จี.ดี แคมป์เบลล์
3.Peoples and Politics of the Far East ของเฮนรี่ นอร์แมน
4.Blue Book หรือหนังสือปกน้ำเงิน(ประมวลจดหมายโต้ตอบของรัฐบาลอังกฤษในระหว่าง วิกฤตการณ์) โดยนายสมิธ และนายแคมป์เบลล์นั้นทำงานกับรัฐบาลสยาม ส่วนนายนอร์แมนนั้นเป็นผู้สังเกตการณ์
ทรรศนะของนักเขียนต่างชาติทำให้ประมวลบริบทของสยามในเวลานั้นได้ว่า สยามอยู่ในสถานการณ์ที่ล่อแหลมเพียงใด ทั้งจากปัจจัยภายในคือตัวรัฐสยามเอง และปัจจัยภายนอกจากประเทศที่(ดูเหมือน)เป็นมิตร และประเทศที่เป็นศัตรู ซึ่งพอสรุปได้ว่า
"ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่หลายคนเห็นพ้องต้องกัน ว่า เป็นเหตุให้สยามจำต้องสูญเสียดินแดนในครั้งนี้ คือการขาดแผนที่ ซึ่งระบุเขตแดนของประเทศไว้อย่างชัดเจน...
ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ ผู้บันทึกหลายคนระบุไว้ว่า เป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่งของสยาม คือวิธีการทูตที่ใช้ในครั้งนั้น ดังเช่นข้อความในโทรเลขที่มาร์คีส์แห่งดัฟเฟอริน(ทูตอังกฤษประจำกรุงปารีส) ส่งถึงเอิร์ลแห่งโรสเบอรี(รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ประเทศอังกฤษ) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม ความว่า
"ผู้เขียนสังเกตเห็นว่า ฝ่ายสยามขาดความช่ำชองในการใช้ภาษาอันแยบยลทางการทูตอย่างชาวยุโรป" ข้อความนี้ตรงกับความเห็นของนายสมิธที่ว่า "ท่าทีและภาษาที่ฝ่ายสยามใช้ตอบข้อเรียกร้องของฝรั่งเศสนั้น ปั้นปึ่งถือดีเกินขีดการแสดงออกถึงศักดิ์ศรีจนเกินไป และทำให้ฝ่ายศัตรูโกรธ"...ข้อเสียอย่างหนึ่งของฝ่ายสยามคือ "ความรู้สึกต่อต้านอิทธิพลของยุโรปในสยามที่รุนแรงเกินไป""*เครื่องมือฝรั่งในกองกำลังสยาม*
นอกจากปัจจัยข้างต้นแล้ว กองกำลังสยาม ณ เวลานั้น คือปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ ซึ่งหลายฝ่ายมองว่า ศักยภาพของกองทัพสยามมีโอกาสเพลี่ยงพล้ำสูง *จอร์จ นาธาเนียล เคอร์ซอน* ข้าราชการชาวอังกฤษผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงประจำประเทศอินเดีย กล่าวถึงกองทหารของสยามว่า "แม้ในภาวะที่สยามระดมกำลังทหารเกณฑ์ไว้อย่างเต็มที่ก็ตาม...นโยบายป้องกัน ประเทศของสยามควรเป็นไปเพื่อให้มีกำลังเพียงพอที่จะรักษาพรมแดนและรักษาความ สงบสุขภายใน และหันไปพึ่งพากำลังต่างประเทศเมื่อเกิดภาวะสงครามขึ้นจริงๆ"
ขณะที่นายนอร์แมนแสดงความเห็นถึงกองกำลังสยามว่า "โรงเรียนนายทหารที่มีอาคารและการจัดการอันน่าเกรงขาม มีครูฝึกชาวยุโรปสี่หรือห้านายที่มีอำนาจจำกัด เด็กหนุ่มชาวสยามได้พักอาศัยอย่างสะดวกสบาย ได้รับการเลี้ยงดู และรับเงินเดือน เดือนละ 30 ชิลลิ่ง เพื่อให้สวมเครื่องแบบและเล่นในโรงเรียนที่ไม่มีการฝึกอบรมใดๆ...สยามรับ วิธีการของฝรั่งมา โดยไม่เอาจิตวิญญาณของฝรั่งติดมาด้วย...จริงๆ แล้ว ไม่มีคำว่า "วินัย" ในภาษาสยาม"
ส่วนนายสมิธเล่าถึงความสามารถของ ทหารที่ประจำบนเรือรบของสยามว่า "เป็นทหารที่เพิ่งเกณฑ์มาจากท้องนา นอกจากผู้บัญชาการบนเรือรบแล้ว ก็ไม่มีใครอื่นที่รู้วิธียิงปืนรบ...นายทหารสามนายที่รักษาการณ์อยู่ก็มี เพียงคนเดียวเท่านั้นที่พูดภาษาสยามได้ อีกสองนายเป็นชาวเดนมาร์กจากกรมแผนที่ และเพิ่งเดินทางเข้ามายังสยามได้ไม่นาน รวมทั้งเป็นอาสาสมัครที่พูดภาษาสยามไม่ได้แม้แต่คำเดียว ในระหว่างการต่อสู้กันนั้น นายทหารเหล่านี้วิ่งจนหอบไปที่ปืนแต่ละกระบอกสลับกัน...พร้อมทั้งออกคำสั่ง เป็นภาษาที่ทหารชาวสยามฟังไม่เข้าใจ"
อย่างไรก็ตามกองกำลังสยามในเวลานั้นก็ไม่ถึงกับสิ้นเขี้ยวเล็บซะทีเดียว "เรือพระที่นั่งมหาจักรี" ซึ่งเรือลาดตระเวนติดปืนอาร์มสตรอง พร้อมระวางขับน้ำ 2,400 ตัน ความเร็ว 15 น็อต ปืนขนาด 4.7 หอต่อสู้ 2 หอ และหัวเรือที่ใช้ชนได้ ระวางขับน้ำของเรือลำนี้สูงกว่าเรือทั้งสามของฝรั่งเศสรวมกันถึง 600 ตัน เรือที่มีสมรรถนะสูงลำนี้กลับไม่ได้ร่วมสมรภูมิรบ ซึ่งนายนอร์แมนกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า
"คำตอบนั้นง่ายและเจ็บ ปวด รวมทั้งเป็นตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่งที่ว่า ในสยามนั้น พระเจ้าแผ่นดินมาก่อนประเทศชาติ เรือพระที่นั่งมหาจักรีจอดอยู่หน้าพระบรมมหาราชวัง ภายใต้คำสั่งที่เข้มงวดไม่ให้เคลื่อนย้าย ยกเว้นเมื่อจำเป็นต้องใช้เป็นพาหนะให้พระเจ้าอยู่หัว...
แต่ถึงจะมี ความตั้งใจใช้เรือลำนี้ก็ตาม คงเป็นไปได้ยาก ข้าพเจ้าเชื่อว่า ตั้งแต่เรือลำนี้มาถึงสยาม ยังไม่มีการลองยิงปืนเลย ไม่มีใครในราชอาณาจักรนี้ ยกเว้นนายทหารชาวเดนมาร์ก 2 หรือ 3 นายเท่านั้นที่รู้วิธีใช้ กระสุนปืนถูกขนขึ้นเรือเป็นครั้งแรกเพียง 2-3 ชั่วโมงก่อนเกิดเหตุที่ปากน้ำ นอกจากนั้นเครื่องยนต์ที่มีขนาดใหญ่และยุ่งยาก ก็ต้องอาศัยวิศวกรชาวอังกฤษควบคุม ไม่มีชาวสยามคนใดรู้วิธีจัดการกับเครื่องยนต์นี้แม้แต่คนเดียว ส่วนคนในอารักขาของอังกฤษก็ไม่สามารถยื่นมือเข้าช่วยได้"*ขุนนาง-ราชสำนักสยาม*
นาย นอร์แมนยังกล่าวถึงเสถียรภาพของเหล่าเสนาบดีเวลานั้นว่า "การประชุมของเหล่าเสนาบดีมีสภาพคล้ายกับการทะเลาะกันในร้านเหล้า...เหล่า เสนาบดีไม่มีการทำงานที่ประสานกันเป็นหนึ่งเดียว หรือแนวคิดและนโยบาย เมื่อคราวเกิดวิกฤตการณ์ปากน้ำ ร.ศ.112 (พ.ศ.2436) ข้าราชการในคณะรัฐบาลสยามขณะนั้นมีความคิดเห็นแตกเป็น 2 ฝ่าย...
ฝ่ายหนึ่งนำโดยพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ สนับสนุนการใช้กำลังตอบโต้ฝรั่งเศส อีกฝ่ายหนึ่งคือกลุ่มของกรมหลวงเทวะวงศ์ฯ ซึ่งสนับสนุนให้ใช้การทูตเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา หลังจากทรงไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตัดสินพระทัยดำเนินพระราโชบายตามข้อเสนอแนะของกรมหลวงเทวะวงศ์ฯ"
ปัจจัยภายในอีกอย่างที่พึ่งพาไม่ได้คือ ที่ปรึกษาทั่วไป เจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ หรือโรแลง ยัคมินส์ ที่นายนอร์แมนวิจารณ์ว่า "มองซิเออร์ยัคมินส์ ในฐานะที่เป็นนักทฤษฎี ไม่ได้วิตกถึงรายละเอียดในทางปฏิบัติอันแท้จริงของกองทหารที่ไร้วินัยและ ทหารเรือหลอกๆ ถ้ากฎหมายระหว่างประเทศระบุว่าพลเมืองมีสิทธิต่อดินแดนของตน ก็เป็นที่ประจักษ์แก่ท่านว่า สยามต้องระลึกถึงและยืนยันสิทธิเหล่านี้
ซึ่งสยามก็รับฟังท่านด้วยความชื่นชม และตอบสนองด้วยความกระตือรือร้น แต่อย่างไรก็ตาม ขอให้ความเป็นธรรมแก่ท่านด้วยการกล่าวซ้ำอีกครั้งว่า ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ท่านไม่ได้รับแจ้งให้ทราบถึงสภาพที่แท้จริงของกองกำลังของสยามตลอดจนวิธีการ อื่นๆ ในการป้องกันประเทศ ดังนั้น ผลลัพธ์จากคำแนะนำของท่านจึงทำให้ท่านรู้สึกประหลาดใจเป็นอย่างยิ่ง ดังที่เห็นได้ในวันที่ 14 กรกฎาคม เมื่อท่านพบว่า เรือปืนขนาดเล็กทำด้วยไม้ 2 ลำของฝรั่งเศส ได้แล่นเข้ามาถึงบางกอกได้อย่างง่ายดาย ทั้งๆ ที่ท่านได้รับการยืนยันว่า เรือรบของสยามจะยิงเรือฝรั่งเศสจนเป็นจุณ"*อำนาจคือเหตุผล*
นอก จากประเด็นความไม่พร้อมด้านต่างๆ ในการรับศึกครั้งนี้ของสยามประเทศแล้ว ปัจจัยคุกคามจากภายนอกเองที่ถาโถมเข้ามาหนักหนา และบางครั้งไม่ใช่เรื่องของเหตุผลเลย ดังข้อความในโทรเลขฉบับหนึ่งซึ่งเอิร์ลแห่งโรสเบอรี่รัฐมนตรีกระทรวงต่าง ประเทศของอังกฤษ ได้รับ มีใจความว่า
"มองซิเออร์เดอแวลล์ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของฝรั่งเศส ทราบแก่ใจดีพอๆ กับผมว่า ในสารบบทั้งหมดของฝรั่งเศส ในแผนที่ของฝรั่งเศสทุกแผ่น ในอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ของฝรั่งเศสทุกเล่มนั้น หลวงพระบางเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของสยาม จนกระทั่งถึงปี...และฝรั่งเศสไม่สามารถยึดครองโดยไม่ละเมิดสิทธิ์ที่ได้ยืน ยันไว้อย่างเป็นทางการกับเราว่า จะไม่บั่นทอนบูรณภาพของสยาม"
หรือเหตุผลรัฐบาลฝรั่งเศสส่งเรือปืนอีกสองลำเข้ามาสมทบเรือลูแตง ที่มองซิเออร์ปาวี ทูตฝรั่งเศสประจำบางกอก แจ้งกับฝ่ายไทยว่า ""เพื่อคุ้มครองผู้คนและทรัพย์สินของฝรั่งเศสในสถานการณ์ปัจจุบันที่ไม่แน่ นอน" โดยอ้างว่า...รัฐบาลฝรั่งเศสเพียงแต่ปฏิบัติตามประเทศมหาอำนาจอื่นเท่านั้น
เหตุผล ของฝรั่งเศสข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเลยทีเดียว...อังกฤษส่งเรือชื่อสวิฟต์เข้ามาจอด หน้าสถานทูตของตนภายหลังจากที่เรือลูแตงทอดสมอหน้าสถานทูตฝรั่งเศสแล้วหลาย สัปดาห์ ฉะนั้นฝรั่งเศสจึงไม่ใช่ผู้ปฏิบัติตาม...บรรดาประชากรชาวยุโรปที่อาศัยอยู่ ในบางกอก ซึ่งมีจำนวนประมาณ 600-700 คนนั้น เกินกว่าหนึ่งในสามเป็นชาวอังกฤษ
ส่วนชาวฝรั่งเศสนั้นมีจำนวนน้อยมาก และไม่มีอิทธิพลใดๆ ทางการค้า ในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์เดือนกรกฎาคม มีชาวฝรั่งเศสอยู่นอกสถานทูตฝรั่งเศสเพียงสามคนเท่านั้น ตีความง่ายๆ คือ ฝรั่งเศสเป็นห่วงคนของตนมาก ถึงขนาดที่ต้องส่งเรือมาคุ้มครอง "หนึ่งลำต่อคน"
นอกจากนี้ ความจัดเจนในทีท่าข้าศึกของฝรั่งเศส และใช้มันเป็นประโยชน์ ฝรั่งเศสรู้อยู่แก่ใจเกี่ยวกับระบบการทำงาน "หลับกลางวัน ทำงานกลางคืน" ของสยาม
เจ้าพระยาอภัยราชาฯกล่าวไว้ใน จดหมายที่เขียนถึงลูกชายเกี่ยวกับโทรเลขที่ฝรั่งเศสส่งมาไว้ว่า "ลูกอาจถามพ่อว่า ถ้าเราได้รับโทรเลขฉบับนั้นเวลา 10.30 นาฬิกา ในตอนเช้าของวันที่ 13 แล้ว เหตุใดเราจึงไม่ติดต่อกับปาวีทันที โชคร้ายจริงที่เหตุผลเป็นเรื่องโง่เขลา ลูกก็ทราบนี่ว่า เสนาบดีสยามหลับตอนกลางวัน และทำงานตลอดจนประชุมกันในเวลากลางคืน เรื่องนี้ส่งผลให้เมื่อโทรเลขฉบับนั้นมาถึง จึงได้แต่รอกันเงียบๆ โดยไม่บอกให้พ่อรู้ด้วยซ้ำ จนกรมหลวงเทวะวงศ์ฯ ทรงตื่นจากบรรทม ซึ่งพระองค์ทรงตื่นขึ้นตอนที่มีคนได้ยินเสียงยิงปืนใหญ่ที่ปากน้ำนั่น""
สุดท้ายคือ บทบาทของพันธมิตรในยามยากอย่างอังกฤษ ในระยะแรกๆ รัฐบาลอังกฤษอาจมีท่าทีว่าจะช่วยเหลืออยู่บ้าง ก่อนจะผันมาเป็นฝ่ายตะล่อมให้สยามยอมจำนนต่อคำขาดของฝรั่งเศส นายนอร์แมนกล่าวถึงคำปรึกษาที่ลอร์ดโรสเบอรี่บอกผ่านกัปตันโจนส์ ทูตอังกฤษ มายังกรมหลวงเทวะวงศ์ฯ ความว่า
"เนื้อหาของคำปรึกษาที่ข้าพเจ้าได้ ให้แก่รัฐบาลสยามอย่างสม่ำเสมอตลอดมาเป็นไปในทำนองให้หาทางปรองดองกับ ฝรั่งเศสโดยเร็ว เป็นไปไม่ได้ที่รัฐบาลของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจะหันเหไปจากทรรศนะดังกล่าว ในขณะนี้...แนวโน้มในข้อเรียกร้องของฝรั่งเศสมีแต่จะเพิ่มขึ้น และอย่างรวดเร็ว ถ้าสยามยังคงยืนกรานปฏิเสธต่อเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในคำขาดนั้น"
วิกฤตการณ์ ร.ศ.112 สั่นคลอนความเชื่อมั่นของคนไทย สั่นคลอนความเป็นสถาบันต่างๆ สยามตระหนักในความสามารถของตนเอง และซึมซับรับทราบกับบทบาทของมหาอำนาจทั้งหลาย หลังเหตุการณ์ดังกล่าวจึงติดตามด้วยการแก้ไข ปรับปรุงบ้านเมืองผู้คนครั้งใหญ่
**พระยอดเมืองขวาง เป็นบุตรพระยาไกรเพ็ชร เกิดที่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๘๙ นามเดิมชื่อว่า "สมบุญ" ต่อมาได้มาอยู่กรุงเทพฯ และได้ศึกษาเล่าเรียนอย่างเหมาะสม เข้ารับราชการจนได้ทำงานกับกระทรวงมหาดไทย ได้เลื่อนตำแหน่งมาโดยลำดับจนมาเป็นเจ้าเมืองเชียงขวาง มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยอดเมืองขวาง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ ตรงกับสมัยราชกาลที่ ๕ พระยอดเมืองขวางเป็นคนทำงานดีมีความรู้ ความสามารถจึงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากรัชกาลที่ ๕
ได้รับคัด เลือกให้ไปเป็นข้าหลวงแขวงคำม่วนในราชอาณาจักรลาว (ซึ่งในสมัยนั้นรวมอยู่ในราชอาณาจักรสยาม) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๒๘ พระยอดเมืองขวางได้ไปตั้งค่ายทหารไว้ที่ตำบลขนองม้า (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ?นาแป? หรือ ?นาป่า? เพราะเป็นนาอยู่กลางป่าในหุบเขา) ใกล้พรมแดนญวน ค่ายขนองม้านี้ตั้งขวางช่องทางซึ่งเป็นด่านพรมแดนระหว่างเขตสยามกับญวน เมื่อไปอยู่เมืองคำมวนแล้ว ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยอดเมืองขวาง เมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๑**พุทธศักราช 2434
ฝรั่งเศสได้ ยุแหย่ชาวทุ่งเชียงคำ แขวนเมืองพวน ดินแดนหัวพันทั้งห้าทั้งหก ให้ก่อความไม่สงบขึ้น โดยบุตรเจ้าเมืองไล ชื่อ บางเบียน ได้ชักธงฝรั่งเศสขึ้นที่ทุ่งเชียงคำหลายครั้ง สยามได้ชักธงฝรั่งเศสลงทุกครั้ง และในที่สุด จับตัว บางเบียนคุมตัวไว้ นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งหนึ่งที่ฝรั่งเศส หยิบขึ้นมาเป็นเหตุอ้างขึ้นมาคุกคามสยามในภายหลัง เพื่อเป็นเหตุผลในการรุกรานเอาดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
( * หมายเหตุ - การเรียกฝั่งซ้ายขวา จะหันหน้าไปตามทิศทางที่แม่น้ำไหลไป ฝั่งลาวจึงเป็นฝั่งซ้าย )-(และถ้าใช้ทิศเหนือเป็นหลักก็จะเรียกว่าโขงฝั่งซ้าย ซึ่งเป็นฝั่งแขวงเมืองไชยบุรีของลาว และก่อปัญหาสงครามร่มเกล้ากับไทยในเวลาต่อมา)**พุทธศักราช 2436
อีกสองปีต่อมา เมื่อวันที่ 25 เมษายน ร.ศ. 112 ฝรั่งเศสส่งกำลังทหารเข้าคุกคามพระราชอาณาเขตสยาม ทางด้านลุ่มน้ำสตรึงบังเหียน ซึ่งเป็นดินแดนด้านลาวและเขมร โดยใช้กำลังขับไล่ทหารสยาม ที่ประจำตามแนวเขต ใช้เวลา 1 เดือน ก็สามารถชักธงฝรั่งเศสขึ้นที่เขมรัฐ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ร.ศ. 112
ในช่วงเวลาเดียวกัน กับการรุกรานทางด้านลุ่มน้ำสตรึงบังเหียน ฝรั่งเศสก็เปิดการรุกรานทางด้านสตรึงเตรง โดยฝรั่งเศสใช้กำลังล่องขึ้นมาตามลำแม่น้ำโขง ขับไล่ หลวงพิพิธสุนทร ข้าหลวงเมืองสตรึงเตรง กับกำลังทหารออกไป แล้วเข้ายึดเมืองโขง หรือสีทันดร ได้เมื่อวันที่ 4 เมษายน ร.ศ. 112 แต่เนื่องจากมองสิเออร์บัสตาร์ด ผู้บังคับการได้รุกเข้ายึดเมืองโดยรีบร้อน ทำให้กองกำลังหนุน ซึ่งนำโดยร้อยเอกทอโรซ์ติดตามไม่ทัน ถูกฝ่ายสยามตีตัดกำลัง จึงขาดเสบียงอาหาร ต้องออกหาเสบียงอาหารเอง และถูกกระแสน้ำพัดไปติดทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง จึงถูกกองกำลังของสยาม ซึ่งนำโดยร้อยโทขุนศุภมาตรา เข้าทำการขับไล่ และจับร้อยเอกทอโรซ์เป็นเชลย ทำให้คนสยามปลื้มกันยกใหญ่ แต่ฝรั่งเศสเสียหน้าอย่างมาก เปิดเกมกดดันสยามอย่างหนัก เพื่อให้ปล่อยร้อยโททอโรซ์ ถึงขนาดจะขับฑูตสยามออกจากประเทศ
ครั้นพอเกิดเหตุการณ์ที่แก่งเจ๊กขึ้น 10 วัน รัฐบาลสยามจึงตัดสินใจปล่อยร้อยโททอโรซ์ไป เพื่อผ่อนคลายวิกฤตการณ์ให้บางเบาลง**การสู้รบที่บ้านแก่งเจ๊ก
วัน ที่ 23 พฤษภาคม ร.ศ. 112 มองซิเออร์ ลุซ ได้รับคำสั่งจาก มองสิเออร ลานาสซัง ผู้สำเร็จราชการอินโดจีน ได้ใช้กำลังทหารอาสาสมัคร ชาวญวนและเขมร 200 คนเศษ เข้าโอบล้อมตีปล้นค่ายพระยอดเมืองขวาง เจ้าเมืองคำมวน มองซิเออร์ลุซจับกุมพระยอดเมืองขวาง และคณะกรมการเมืองคำม่วนได้ พร้อมทั้งยึดทรัพย์สิน ทั้งของราชการและส่วนตัวเอาไว้ บังคับให้พระยอดเมืองขวางกับพวก ออกไปจากเมืองคำม่วน โดยอ้างว่าเมืองคำม่วนเป็นของญวน ซึ่งตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสแล้ว แต่พระยอดเมืองขวางโต้แย้งว่า เมืองคำม่วนเป็นพระราชอาณาเขตกรุงสยาม หากมีปัญหาจะต้องให้ รัฐบาลฝรั่งเศสและรัฐบาลสยามเป็นผู้ตัดสิน มองสิเออร์ลุซ ยืนยันว่าจะต้องยึดเมืองคำม่วนไว้ก่อน พระยอดเมืองขวางไม่อาจทัดทานกำลังฝรั่งเศส ซึ่งเหนือกว่าได้ จึงต้องยอมออกจากเมืองที่ตนปกครองมาแล้วถึง 8 ปี แต่ก่อนออกไปได้ทำหนังสืออายัดสงวนสิทธิเมือง มอบไว้ให้กับฝ่ายฝรั่งเศส อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่จนถึงวาระสุดท้าย ในตำแหน่งข้าหลวงรักษาราชการเมืองคำม่วนและคำเกิด
ต่อมาอีก 3 วัน มองสิเออร์ลุซ ได้มอบหมายให้ มองสิเออร์กรอสกุรัง นายทหารเกณฑ์หัดคุมทหาร 20 คน นำตัวพระยอดเมืองขวางกับพวก ราว 20 คน ไปส่งที่เมืองท่าอุเทน โดยอ้างว่าหากอยู่ที่เมืองคำม่วนต่อไป จะไม่มีความปลอดภัย เนื่องจากราษฏรเกลียดชัง มองสิเออร์กรอสกุรังได้คุมตัวพระยอดเมืองขวางกับพวก ออกจากเมืองคำม่วนไป ท่ามกลางเสียงร้องไห้อาลัยรักของราษฎร เดินทางไปราว 4 วัน 5 คืน ถึงบ้านนาหลักหิน ปลายเขตแดนติดต่อกัน ระหว่างเมืองคำม่วนกับเมืองท่าอุเทน มองสิเออร์กรอสกุรังกับพวก ไปพักที่บ้านแก่งเจ๊ก พระยอดเมืองขวางกับพวก พักที่ทำเนียบเก่าของตน ห่างจากบ้านพักของฝรั่งเศสชั่วระยะเดิน 15 นาที
หลังจากนั้นอีก 2 วัน มองสิเออร์กรอสกุรัง ได้นำทหาร 10 คน มาจับตัว หลวงอนุรักษ์ ผู้ช่วยพระยอดเมืองขวาง ไปเป็นตัวประกัน โดยอ้างว่าก่อนเดินทางมา หลวงอนุรักษ์ได้พูดกับราษฏรเมืองคำม่วนว่า ต้องทิ้งเมืองคำม่วนมาชั่วคราว อีกไม่ช้าจะต้องกลับมารบเอาเมืองคืนให้ได้ เป็นการยุยงส่งเสริมให้เกิดความไม่สงบมาครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อวานนี้ราษฎรพูดกันว่า พระยอดเมืองขวางจะหนีไปตั้งค่ายที่เวียงกระแสนอีก จึงต้องเอาตัวหลวงอนุรักษ์ไปคุมไว้ ได้เรือมาพร้อมเมื่อไร จะส่งตัวไปเมืองท่าอุเทน พร้อมกับพระยอดเมืองขวาง พระยอดเมืองขวางพูดจาทัดทานก็ไม่เป็นผล ฝรั่งเศสทำร้ายมัดมือ และฉุดกระชากลากตัวหลวงอนุรักษ์ไป ดังเป็นเชลย แล้วไปคุมขังไว้ที่เรือนพักของมองสิเออร์กรอสกุรัง
รุ่งขึ้นพระยอดเมืองขวาง ให้ ขุนวัง ไปพูดจาขอเอาตัวหลวงอนุรักษ์คืน แต่มองสิเออร์กรอสกุรังไม่ยอมให้คืนมา ตกบ่าย ท้าวเพี้ย (ขุนนาง) มาบอกกับพระยอดเมืองขวางว่า มองสิเออร์กรอสกุรังจะมาจับพระยอดเมืองขวางกับพวกด้วย พระยอดเมืองขวางเห็นว่า จะไม่ปลอดภัย จึงยกพวกล่องเรือไปที่ภูเขาเวียงกระแสน พบกับพวกท้าวเพี้ย และไพร่เมืองท่าอุเทนราว 50 คน คุมเสบียงสวนทางขึ้นมา ก็ชวนลงไปที่เมืองกระแสนด้วยกัน
วันที่ 3 มิถุนายน ร.ศ. 112 นายทุ้ย และนายแปลก ซึ่งได้รับคำสั่งจากหลวงวิชิตสรศาสตร์ ข้าหลวงที่ 3 ในหัวเมืองลาวพวน ให้มาช่วยพระยอดเมืองขวาง กับพวกที่ถูกฝรั่งเศสคุมตัว และหาทางให้ฝรั่งเศสถอยไปพ้นจากพระราชอาณาเขต ก็คุมทหาร 50 คน มาพบกับพระยอดเมืองขวาง ที่เวียงกระแสน ได้ปรึกษากันเรื่องจะไปขอตัวหลวงอนุรักษ์คืนจากฝรั่งเศส และวันนั้นเอง พระยอดเมืองขวาง นายทุ้ย นายแปลก พร้อมด้วยกำลังทหาร ก็พากันไปที่แก่งเจ๊ก ขุนวังรับหน้าที่เจรจาของตัวหลวงอนุรักษ์คืน เช่นครั้งก่อน มองสิเออร์กรอสกุรังตอบปฏิเสธผ่าน บุนจัน ล่ามเขมรมาอย่างไม่มีเยื่อใย ขุนวังก็พูดขอศาสตราวุธและทรัพย์สินคืน กับขอให้ฝรั่งเศสถอยออกไปพ้นพระราชอาณาเขตสยาม มองสิเออร์กรอสกุรังตอบผ่านล่ามมาว่า ฝรั่งเศสจะไม่ถอยออกไปอย่างเด็ดขาด ส่วนศาสตราวุธและทรัพย์สินต่างๆ ก็ไม่ได้อยู่ที่ตน ตนจึงคืนให้ไม่ได้
การเจรจาไม่ประสบผลสำเร็จ พระยอดเมืองขวางตัดสินใจสั่งให้หลวงอนุรักษ์ ซึ่งอยู่ในที่นั้นด้วยกระโดดหนี บุนจัน ล่ามเขมรเตือนให้มองสิเออร์กรอสกุรัง รู้ มองสิเออร์กรอสกุรัง ร้องบอกทหารญวนให้เตรียมป้องกัน พลางจับมือหลวงอนุรักษ์ลากเข้าไปในห้อง หลวงอนุรักษ์สะบัดมือหลุด แล้วกระโดดเรือนลงมาหาพระยอดเมืองขวาง จึงเกิดการชุลมุนขึ้น พร้อมๆ กันนั้น เสียงปืนดังขึ้นหนึ่งนัด ถูกทหารสยามชาวโคราช ลูกน้องนายทุ้ยนายแปลก ล้มตาย ตามมาด้วยเสียงปืนอีกสามนัด ถูกทหารสยามตายอีก 2 คน พระยอดเมืองขวางกับนายทุ้ยนายแปลก ร้องห้ามไม่เป็นผล จึงสั่งทหารยิงโต้ตอบกลับไป ได้เกิดไฟลุกไหม้ที่พัก ของมองสิเออร์กรอสกุรังขึ้นในขณะนั้น บุนจันล่ามเขมร ซึ่งถูกปืนที่ขาซ้ายและมือขวา ก็วิ่งหนีลงมาจากเรือนที่ไฟไหม้ พลางร้องขอชีวิต พระยอดเมืองขวางจึงห้ามมิให้ทำร้ายแก่บุนจัน หลวงอนุรักษ์ก็ไปคว้ามือบุนจันมาไว้ ภายหลังชาวเขมรเดนตายผู้นี้ ได้กลายมาเป็นพยานปากเอกของฝ่ายฝรั่งเศส เล่นงานพระยอดเมืองขวางในศาลรับสั่งพิเศษ
ส่วนขุนวัง วีรชนอีกคนซึ่งไม่มีชื่อจารึกในทำเนียบวีรบุรุษ เมื่อเกิดเหตุการณ์ชุลมุนต่อสู้แล้ว ก็ถือดาบวิ่งโรขึ้นไปบนเรือน ปากร้องด่าว่าจะตัดหัวฝรั่ง แต่ไม่ทันจะได้ตัดหัวฝรั่งเศสสมแค้น ก็ถูกลูกกระสุนปืนทหารญวน ยิงสวนมาถึงแก่ความตายทันที ถึงกระนั้นก็ตาม มองสิเออร์กรอสกุรัง ก็หารอดพ้นจากความตายไปไม่ แม้หัวจะไม่ขาดเพราะดาบขุนวัง แต่ขมับก็ทะลุเพราะกระสุนปืนทหารสยามชาวโคราช นอนตายอยู่ในเรือนที่ไฟกำลังลุกโหมอยู่ ความตายของมองสิเออร์กรอสกุรังนี้เอง ที่จักรวรรดินิยมฝรั่งเศสฉวยเป็นประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่ง ในการรุกฆาต เพื่อเชือดเฉือนแผ่นดินสยามฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
ผลจากศึกชิงตัวหลวง อนุรักษ์ครั้งนั้น นอกจากขุนวัง และมองสิเออร์กรอสกุรัง ต้องจบชีวิตแล้ว ทหารฝ่ายสยามตาย 6 คน บาดเจ็บ 4-5 คน ฝ่ายฝรั่งเศสตาย 11-12 คน (แต่ฝรั่งเศสอ้างว่าตาย 16-24 คน) สยามจับเชลยได้ 3 คน คือ งูเยนวันคัน หรือ เหงียนวันคัน ส่วนทหารเชลยอีกคน เข้าใจว่าเสียชีวิตก่อนเดินทาง
มอง สิเออร์ลุซ ซึ่งยึดเมืองคำม่วนอยู่ ได้รายงานให้ มองสิเออร์ลานาสซัง ผู้สำเร็จราชการอินโดจีน ทราบถึงเหตุการณ์ที่แก่งเจ๊กว่า "ขณะเจรจากับพระยอดเมืองขวาง ข้าหลวงสยามประจำเมืองคำม่วน ได้ใช้ปืนรีวอลเวอร์ยิงเอามองสิเออร์กรอสกุรัง ในระยะเผาขน และในเวลาเดียวกันทหารสยามก็ตรูกันเข้าทำร้ายพนักงานรักษาการณ์ พนักงานรักษาการณ์น้อยกว่า จึงสู้ไม่ได้ สยามได้ฉกชิงสิ่งของที่มีในที่พัก เอาไฟเผาที่พักเสีย... " เป็นการเล่นบท หมาป่ากับลูกแกะอย่างทันอกทันใจ
หลังเหตุการณ์ที่บ้านแก่งเจ๊ก ฝรั่งเศสได้ส่งเรือรบบุกรุกเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้เกิดยุทธนาวีที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ขึ้น เกิดการยิงสู้รบขึ้น เรือรบและทหารสยามได้ทำการต่อสู้ป้องกันข้าศึกอย่างกล้าหาญ สร้างความเสียหายให้กับเรือรบฝรั่งเศสมากพอสมควร ทหารสยามตาย 8 คน เจ็บ 41 คน สูญหาย 1 คน ราษฎรสยามถูกลูกหลงตาย 1 คน เรือและป้อมเสียหายมาก ทหารฝรั่งเศสตาย 3 คน แต่ด้วยกำลังทหารและอาวุธที่ด้อยกว่ามาก และเกรงว่าฝรั่งเศสจะอ้างเป็นเหตุ ในการเปิดสงครามสู้รบครั้งใหญ่ อันจะทำให้ประเทศสยามต้องตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เพราะกำลังของสยามที่ด้อยกว่า ไม่อาจต้านทาน แสนยานุภาพของฝรั่งเศสที่มีอาวุธเหนือกว่าได้ รัฐบาลสยามจึงจำต้องสั่งให้ทหารยุติการต่อสู้กับฝรั่งเศส
ครั้งวันที่ 20 กรกฎาคม ร.ศ. 112 หลังเกิดเหตุ 7 วัน รัฐบาลฝรั่งเศสก็ได้ยื่นข้อเรียกร้องแก่รัฐบาลสยาม 6 ข้อ ให้ตอบภายใน 48 ชั่วโมง คือ1. ให้สยามยอมสละกรรมสิทธิ์ทั้งหมด และเคารพสิทธิของญวนและเขมร ในดินแดนเหนือฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง รวมทั้งบรรดาเกาะทั้งหมด ที่อาจมีขึ้นเมื่อน้ำลด หรือในบรรดาที่มีมาก่อนแล้วนั้น ให้เป็น กรรมสิทธิ์ของฝรั่งเศส
2. สยามจะต้องไม่มีค่ายทหารในเขต 25 กม. ตลอดแนวแม่น้ำ รวมทั้งพระตะบอง และเสียมเรียบ สยามจะไม่มีเรือรบไปไว้ หรือใช้ดินแดนในทะเลสาป หรือลำน้ำที่แยกจากแม่น้ำโขง และให้ถอนกองทหารที่ตั้งมั่นอยู่บนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ให้เสร็จสิ้นภายในเวลาไม่เกิน 1 เดือน
3. ให้เสียค่าปรับไหมแก่ฝรั่งเศส ในเหตุการณ์อุกฉกรรจ์ที่เกิดขึ้นที่ทุ่งเชียงคำและที่คำม่วน และทั้งในการที่ได้ทำอันตรายและความเสียหายแก่เรือ และพวกกลาสีเรือฝรั่งเศส ในลำแม่น้ำเจ้าพระยา
4. ให้ลงโทษผู้กระทำผิด และเสียเงินค่าทำขวัญให้แก่ครอบครัวผู้ที่ต้องเสียชีวิต
5. ให้ใช้เงิน 2,000,0000 ฟรังค์ ค่าที่ทำความเสียหายให้แก่ชนชาติฝรั่งเศส
6. ให้จ่ายเงินจำนวน 3,000,000 บาท ทันที มัดจำการที่จะชดใช้เงินค่าเสียหายและเงินค่าทำขวัญรายต่างๆ หรือถ้าไม่สามารถ ก็ต้องยอมให้รัฐบาลฝรั่งเศสถือสิทธิเก็บเงินค่าส่วนสาอากร และสมพัสตร์ในมณฑลพระตะบองและเสียมราฐ
ในยุคล่าอาณานิคม ประเทศไทยได้เสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสรวม 5 ครั้ง เป็นพื้นที่ทั้งสิ้น 481,600 ตารางกิโลเมตร นับตั้งแต่ปลายรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ โดยไทยต้องยินยอมเสียดินแดนบางส่วนไป เพื่อรักษาเอกราชและดินแดนส่วนใหญ่ไว้ ทำให้พื้นที่ประเทศไทยเหลืออยู่เพียง 513,600 ตารางกิโลเมตร
ดินแดนที่เสียไปตามลำดับมีดังนี้
1. แคว้นกัมพูชา เมื่อปี พ.ศ. 2410
2. แคว้นสิบสองจุไทย เมื่อปี พ.ศ. 2431 เป็นพื้นที่ 87,000 ตารางกิโลเมตร
3. ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง อันได้แก่ ประเทศลาวปัจจุบัน ในพื้นที่เมืองหลวงพระบาง เมืองเวียงจันทร์ และอาณาเขตนครจัมปาศักดิ์ตะวันออก ตลอดจนบรรดาเกาะต่าง ๆ ในแม่น้ำโขง เมื่อปี พ.ศ. 2436 หรือที่รู้จักกันดีคือ ร.ศ. 112 เป็นพื้นที่ 143,000 ตารางกิโลเมตร
4. ดินแดนทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง บริเวณที่อยู่ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง และตรงข้ามเมืองปากเซ เมื่อปี พ.ศ. 2446 เป็นพื้นที่ 62,000 ตารางกิโลเมตร เพื่อแลกกับเมืองจันทบุรี ที่ฝรั่งเศสยึดไว้เมื่อ ร.ศ. 112
5. มณฑลบูรพา ได้แก่ พื้นที่เมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ เมื่อปี พ.ศ. 2449 เป็นพื้นที่ 51,000 ตารางกิโลเมตร เพื่อแลกกับเมืองตราด เกาะกง และเมืองด่านซ้าย พร้อมทั้งอำนาจศาลไทย ต่อคนในบังคับฝรั่งเศส
ต่อมาประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส ได้ทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับรัสเซีย เพื่อเตรียมรับสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษและฝรั่งเศสจึงได้ประชุมพิจารณาปรองดองกัน ในปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับอาณานิคมโดยทั่วไป สำหรับประเทศไทยนั้นได้ตกลงแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
ส่วนที่ 1 เป็นพื้นที่ภาคตะวันออก ตั้งแต่มณฑลนครราชสีมาไปทางตะวันออกทั้งหมด เป็นเขตผลประโยชน์ของฝรั่งเศส
ส่วนที่ 2 เป็นพื้นที่ด้านตะวันตกของมณฑลราชบุรีลงไป เป็นเขตผลประโยชน์ของอังกฤษ
ส่วนที่ 3 คงเหลือเฉพาะพื้นที่ภาคกลางคงเป็นของไทย
สัญญานี้ทำกันเมื่อปี ค.ศ. 1911 แต่เนื่องจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 มหาประเทศคู่สงคราม ต่างพากันอ่อนกำลังลงไป นอกจากนี้ การที่ประเทศไทยเข้าร่วมสงคราม โดยอยู่ทางฝ่ายพันธมิตร ซึ่งเป็นฝ่ายชนะ จึงทำให้มีฐานมั่นคงขึ้น
การเสียดินแดนเมื่อ ร.ศ. 112
เป็นการเสียดินแดนครั้งนี้ ฝรั่งเศสได้ถือโอกาสที่เกิดเรื่องกระทบกระทั่งกันทางชายแดน ได้ส่งเรืรบ 2 ลำ เข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 โดยใช้เรือพาณิชย์นำร่องเข้ามาถึงพระนคร แล้วยื่นเงื่อนไขคำขาดกับไทย
ฝ่าย อังกฤษ เห็นพฤติกรรมฝรั่งเศส ที่จะยึดประเทศไทยโดยสิ้นเชิง ก็เข้าประท้วงคุมเชิงอยู่ ฝ่ายรัสเซียพระเจ้าซาร์นิโคลาส ได้มีพระราชโทรเลขไปยังรัฐบาลฝรั่งเศส ให้ยับยั้งการยึดครองประเทศไทย ฝรั่งเศสจึงยอมถอยเรือ กลับไปตามสัญญาลง 3 ธันวาคม 2435 แต่ได้ยึดครองดินแดนฝั่งแม่น้ำโขงไว้โดยสิ้นเชิง
กับเรียกค่าทำขวัญอีก 3 ล้านบาท กับเงินฝรั่งเศสอีก 2 ล้านฟรังค์ พร้อมทั้งยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นประกัน 10 ปี รวมทั้งให้ดำเนินคดี พระยอดเมืองขวาง ที่มีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส
ครั้นครบกำหนด 10 ปี ฝรั่งเศสไม่ยอมถอนทหารออกจากจันทบุรี แล้วกลับตั้งเงื่อนไขเรียกร้องให้ยกเขต จัมปาศักดิ์ ให้แก่ฝรั่งเศสอีก รัฐบาลไทยต้องจำยอมตามสัญญาลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2446 แต่แล้วฝรั่งเศสก็ถอยไปยึดจังหวัดตราด และเรียกร้องให้ไทยยอมยกดินแดน 4 จังหวัด เมื่อปี พ.ศ. 2449 เพื่อให้ฝรั่งเศสถอนทหารออกไปจากแผ่นดินไทย รัฐบาลไทยจึงต้องยอมยกให้ไป
ในวันที่ 3 เดือนตุลาคมของปีนั้น(ร.ศ.112/ พ.ศ.2436) ได้เกิดข้อตกลงที่เรียกว่า "สนธิสัญญาสันติภาพ"
ประเด็นสำคัญของสนธิสัญญาดังกล่าวกำหนดให้
1.สยามต้องจ่ายค่าเสียหายที่ไม่เป็นธรรมจำนวน 3 ล้านฟรังก์
2.สยามยกพื้นที่ประมาณ 40,000-50,000 ตารางกิโลเมตร ให้แก่ฝรั่งเศส
3.ฝรั่งเศสยึดเอาจันทบุรีกับตราดไปไว้ในอารักขาอีกนานกว่า 10 ปี (พ.ศ.2436-2447)*สยามบนปากเหว*
ด้วย มูลค่าความเสียหายที่นับเป็นเม็ดเงินจำนวนมหาศาล บวกกับมูลค่าความเสียหายทางสังคม ทางจิตวิญญาณ เหตุการณ์ที่ผ่านมาร้อยกว่าปี จึงยังคงเป็นกรณีศึกษาคลาสสิคที่ควรแก่การศึกษา โดยนำเสนอบริบทข้างเคียงของเหตุการณ์ จากหนังสือที่บันทึกเหตุการณ์ดังกล่าวและพิมพ์ขึ้นในยุคนั้น ซึ่งประกอบด้วย
1.Five years in Siam ของเฮอร์เบิร์ต วาริงตัน สมิธ
2.Siam in the Twentieth Century ของ เจ.จี.ดี แคมป์เบลล์
3.Peoples and Politics of the Far East ของเฮนรี่ นอร์แมน
4.Blue Book หรือหนังสือปกน้ำเงิน(ประมวลจดหมายโต้ตอบของรัฐบาลอังกฤษในระหว่าง วิกฤตการณ์) โดยนายสมิธ และนายแคมป์เบลล์นั้นทำงานกับรัฐบาลสยาม ส่วนนายนอร์แมนนั้นเป็นผู้สังเกตการณ์
ทรรศนะของนักเขียนต่างชาติทำให้ประมวลบริบทของสยามในเวลานั้นได้ว่า สยามอยู่ในสถานการณ์ที่ล่อแหลมเพียงใด ทั้งจากปัจจัยภายในคือตัวรัฐสยามเอง และปัจจัยภายนอกจากประเทศที่(ดูเหมือน)เป็นมิตร และประเทศที่เป็นศัตรู ซึ่งพอสรุปได้ว่า
"ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่หลายคนเห็นพ้องต้องกัน ว่า เป็นเหตุให้สยามจำต้องสูญเสียดินแดนในครั้งนี้ คือการขาดแผนที่ ซึ่งระบุเขตแดนของประเทศไว้อย่างชัดเจน...
ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ ผู้บันทึกหลายคนระบุไว้ว่า เป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่งของสยาม คือวิธีการทูตที่ใช้ในครั้งนั้น ดังเช่นข้อความในโทรเลขที่มาร์คีส์แห่งดัฟเฟอริน(ทูตอังกฤษประจำกรุงปารีส) ส่งถึงเอิร์ลแห่งโรสเบอรี(รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ประเทศอังกฤษ) ลงวันที่ 27 กรกฎาคม ความว่า
"ผู้เขียนสังเกตเห็นว่า ฝ่ายสยามขาดความช่ำชองในการใช้ภาษาอันแยบยลทางการทูตอย่างชาวยุโรป" ข้อความนี้ตรงกับความเห็นของนายสมิธที่ว่า "ท่าทีและภาษาที่ฝ่ายสยามใช้ตอบข้อเรียกร้องของฝรั่งเศสนั้น ปั้นปึ่งถือดีเกินขีดการแสดงออกถึงศักดิ์ศรีจนเกินไป และทำให้ฝ่ายศัตรูโกรธ"...ข้อเสียอย่างหนึ่งของฝ่ายสยามคือ "ความรู้สึกต่อต้านอิทธิพลของยุโรปในสยามที่รุนแรงเกินไป""*เครื่องมือฝรั่งในกองกำลังสยาม*
นอกจากปัจจัยข้างต้นแล้ว กองกำลังสยาม ณ เวลานั้น คือปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ ซึ่งหลายฝ่ายมองว่า ศักยภาพของกองทัพสยามมีโอกาสเพลี่ยงพล้ำสูง *จอร์จ นาธาเนียล เคอร์ซอน* ข้าราชการชาวอังกฤษผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงประจำประเทศอินเดีย กล่าวถึงกองทหารของสยามว่า "แม้ในภาวะที่สยามระดมกำลังทหารเกณฑ์ไว้อย่างเต็มที่ก็ตาม...นโยบายป้องกัน ประเทศของสยามควรเป็นไปเพื่อให้มีกำลังเพียงพอที่จะรักษาพรมแดนและรักษาความ สงบสุขภายใน และหันไปพึ่งพากำลังต่างประเทศเมื่อเกิดภาวะสงครามขึ้นจริงๆ"
ขณะที่นายนอร์แมนแสดงความเห็นถึงกองกำลังสยามว่า "โรงเรียนนายทหารที่มีอาคารและการจัดการอันน่าเกรงขาม มีครูฝึกชาวยุโรปสี่หรือห้านายที่มีอำนาจจำกัด เด็กหนุ่มชาวสยามได้พักอาศัยอย่างสะดวกสบาย ได้รับการเลี้ยงดู และรับเงินเดือน เดือนละ 30 ชิลลิ่ง เพื่อให้สวมเครื่องแบบและเล่นในโรงเรียนที่ไม่มีการฝึกอบรมใดๆ...สยามรับ วิธีการของฝรั่งมา โดยไม่เอาจิตวิญญาณของฝรั่งติดมาด้วย...จริงๆ แล้ว ไม่มีคำว่า "วินัย" ในภาษาสยาม"
ส่วนนายสมิธเล่าถึงความสามารถของ ทหารที่ประจำบนเรือรบของสยามว่า "เป็นทหารที่เพิ่งเกณฑ์มาจากท้องนา นอกจากผู้บัญชาการบนเรือรบแล้ว ก็ไม่มีใครอื่นที่รู้วิธียิงปืนรบ...นายทหารสามนายที่รักษาการณ์อยู่ก็มี เพียงคนเดียวเท่านั้นที่พูดภาษาสยามได้ อีกสองนายเป็นชาวเดนมาร์กจากกรมแผนที่ และเพิ่งเดินทางเข้ามายังสยามได้ไม่นาน รวมทั้งเป็นอาสาสมัครที่พูดภาษาสยามไม่ได้แม้แต่คำเดียว ในระหว่างการต่อสู้กันนั้น นายทหารเหล่านี้วิ่งจนหอบไปที่ปืนแต่ละกระบอกสลับกัน...พร้อมทั้งออกคำสั่ง เป็นภาษาที่ทหารชาวสยามฟังไม่เข้าใจ"
อย่างไรก็ตามกองกำลังสยามในเวลานั้นก็ไม่ถึงกับสิ้นเขี้ยวเล็บซะทีเดียว "เรือพระที่นั่งมหาจักรี" ซึ่งเรือลาดตระเวนติดปืนอาร์มสตรอง พร้อมระวางขับน้ำ 2,400 ตัน ความเร็ว 15 น็อต ปืนขนาด 4.7 หอต่อสู้ 2 หอ และหัวเรือที่ใช้ชนได้ ระวางขับน้ำของเรือลำนี้สูงกว่าเรือทั้งสามของฝรั่งเศสรวมกันถึง 600 ตัน เรือที่มีสมรรถนะสูงลำนี้กลับไม่ได้ร่วมสมรภูมิรบ ซึ่งนายนอร์แมนกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า
"คำตอบนั้นง่ายและเจ็บ ปวด รวมทั้งเป็นตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่งที่ว่า ในสยามนั้น พระเจ้าแผ่นดินมาก่อนประเทศชาติ เรือพระที่นั่งมหาจักรีจอดอยู่หน้าพระบรมมหาราชวัง ภายใต้คำสั่งที่เข้มงวดไม่ให้เคลื่อนย้าย ยกเว้นเมื่อจำเป็นต้องใช้เป็นพาหนะให้พระเจ้าอยู่หัว...
แต่ถึงจะมี ความตั้งใจใช้เรือลำนี้ก็ตาม คงเป็นไปได้ยาก ข้าพเจ้าเชื่อว่า ตั้งแต่เรือลำนี้มาถึงสยาม ยังไม่มีการลองยิงปืนเลย ไม่มีใครในราชอาณาจักรนี้ ยกเว้นนายทหารชาวเดนมาร์ก 2 หรือ 3 นายเท่านั้นที่รู้วิธีใช้ กระสุนปืนถูกขนขึ้นเรือเป็นครั้งแรกเพียง 2-3 ชั่วโมงก่อนเกิดเหตุที่ปากน้ำ นอกจากนั้นเครื่องยนต์ที่มีขนาดใหญ่และยุ่งยาก ก็ต้องอาศัยวิศวกรชาวอังกฤษควบคุม ไม่มีชาวสยามคนใดรู้วิธีจัดการกับเครื่องยนต์นี้แม้แต่คนเดียว ส่วนคนในอารักขาของอังกฤษก็ไม่สามารถยื่นมือเข้าช่วยได้"*ขุนนาง-ราชสำนักสยาม*
นาย นอร์แมนยังกล่าวถึงเสถียรภาพของเหล่าเสนาบดีเวลานั้นว่า "การประชุมของเหล่าเสนาบดีมีสภาพคล้ายกับการทะเลาะกันในร้านเหล้า...เหล่า เสนาบดีไม่มีการทำงานที่ประสานกันเป็นหนึ่งเดียว หรือแนวคิดและนโยบาย เมื่อคราวเกิดวิกฤตการณ์ปากน้ำ ร.ศ.112 (พ.ศ.2436) ข้าราชการในคณะรัฐบาลสยามขณะนั้นมีความคิดเห็นแตกเป็น 2 ฝ่าย...
ฝ่ายหนึ่งนำโดยพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ สนับสนุนการใช้กำลังตอบโต้ฝรั่งเศส อีกฝ่ายหนึ่งคือกลุ่มของกรมหลวงเทวะวงศ์ฯ ซึ่งสนับสนุนให้ใช้การทูตเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา หลังจากทรงไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตัดสินพระทัยดำเนินพระราโชบายตามข้อเสนอแนะของกรมหลวงเทวะวงศ์ฯ"
ปัจจัยภายในอีกอย่างที่พึ่งพาไม่ได้คือ ที่ปรึกษาทั่วไป เจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ หรือโรแลง ยัคมินส์ ที่นายนอร์แมนวิจารณ์ว่า "มองซิเออร์ยัคมินส์ ในฐานะที่เป็นนักทฤษฎี ไม่ได้วิตกถึงรายละเอียดในทางปฏิบัติอันแท้จริงของกองทหารที่ไร้วินัยและ ทหารเรือหลอกๆ ถ้ากฎหมายระหว่างประเทศระบุว่าพลเมืองมีสิทธิต่อดินแดนของตน ก็เป็นที่ประจักษ์แก่ท่านว่า สยามต้องระลึกถึงและยืนยันสิทธิเหล่านี้
ซึ่งสยามก็รับฟังท่านด้วยความชื่นชม และตอบสนองด้วยความกระตือรือร้น แต่อย่างไรก็ตาม ขอให้ความเป็นธรรมแก่ท่านด้วยการกล่าวซ้ำอีกครั้งว่า ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ท่านไม่ได้รับแจ้งให้ทราบถึงสภาพที่แท้จริงของกองกำลังของสยามตลอดจนวิธีการ อื่นๆ ในการป้องกันประเทศ ดังนั้น ผลลัพธ์จากคำแนะนำของท่านจึงทำให้ท่านรู้สึกประหลาดใจเป็นอย่างยิ่ง ดังที่เห็นได้ในวันที่ 14 กรกฎาคม เมื่อท่านพบว่า เรือปืนขนาดเล็กทำด้วยไม้ 2 ลำของฝรั่งเศส ได้แล่นเข้ามาถึงบางกอกได้อย่างง่ายดาย ทั้งๆ ที่ท่านได้รับการยืนยันว่า เรือรบของสยามจะยิงเรือฝรั่งเศสจนเป็นจุณ"*อำนาจคือเหตุผล*
นอก จากประเด็นความไม่พร้อมด้านต่างๆ ในการรับศึกครั้งนี้ของสยามประเทศแล้ว ปัจจัยคุกคามจากภายนอกเองที่ถาโถมเข้ามาหนักหนา และบางครั้งไม่ใช่เรื่องของเหตุผลเลย ดังข้อความในโทรเลขฉบับหนึ่งซึ่งเอิร์ลแห่งโรสเบอรี่รัฐมนตรีกระทรวงต่าง ประเทศของอังกฤษ ได้รับ มีใจความว่า
"มองซิเออร์เดอแวลล์ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของฝรั่งเศส ทราบแก่ใจดีพอๆ กับผมว่า ในสารบบทั้งหมดของฝรั่งเศส ในแผนที่ของฝรั่งเศสทุกแผ่น ในอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ของฝรั่งเศสทุกเล่มนั้น หลวงพระบางเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของสยาม จนกระทั่งถึงปี...และฝรั่งเศสไม่สามารถยึดครองโดยไม่ละเมิดสิทธิ์ที่ได้ยืน ยันไว้อย่างเป็นทางการกับเราว่า จะไม่บั่นทอนบูรณภาพของสยาม"
หรือเหตุผลรัฐบาลฝรั่งเศสส่งเรือปืนอีกสองลำเข้ามาสมทบเรือลูแตง ที่มองซิเออร์ปาวี ทูตฝรั่งเศสประจำบางกอก แจ้งกับฝ่ายไทยว่า ""เพื่อคุ้มครองผู้คนและทรัพย์สินของฝรั่งเศสในสถานการณ์ปัจจุบันที่ไม่แน่ นอน" โดยอ้างว่า...รัฐบาลฝรั่งเศสเพียงแต่ปฏิบัติตามประเทศมหาอำนาจอื่นเท่านั้น
เหตุผล ของฝรั่งเศสข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเลยทีเดียว...อังกฤษส่งเรือชื่อสวิฟต์เข้ามาจอด หน้าสถานทูตของตนภายหลังจากที่เรือลูแตงทอดสมอหน้าสถานทูตฝรั่งเศสแล้วหลาย สัปดาห์ ฉะนั้นฝรั่งเศสจึงไม่ใช่ผู้ปฏิบัติตาม...บรรดาประชากรชาวยุโรปที่อาศัยอยู่ ในบางกอก ซึ่งมีจำนวนประมาณ 600-700 คนนั้น เกินกว่าหนึ่งในสามเป็นชาวอังกฤษ
ส่วนชาวฝรั่งเศสนั้นมีจำนวนน้อยมาก และไม่มีอิทธิพลใดๆ ทางการค้า ในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์เดือนกรกฎาคม มีชาวฝรั่งเศสอยู่นอกสถานทูตฝรั่งเศสเพียงสามคนเท่านั้น ตีความง่ายๆ คือ ฝรั่งเศสเป็นห่วงคนของตนมาก ถึงขนาดที่ต้องส่งเรือมาคุ้มครอง "หนึ่งลำต่อคน"
นอกจากนี้ ความจัดเจนในทีท่าข้าศึกของฝรั่งเศส และใช้มันเป็นประโยชน์ ฝรั่งเศสรู้อยู่แก่ใจเกี่ยวกับระบบการทำงาน "หลับกลางวัน ทำงานกลางคืน" ของสยาม
เจ้าพระยาอภัยราชาฯกล่าวไว้ใน จดหมายที่เขียนถึงลูกชายเกี่ยวกับโทรเลขที่ฝรั่งเศสส่งมาไว้ว่า "ลูกอาจถามพ่อว่า ถ้าเราได้รับโทรเลขฉบับนั้นเวลา 10.30 นาฬิกา ในตอนเช้าของวันที่ 13 แล้ว เหตุใดเราจึงไม่ติดต่อกับปาวีทันที โชคร้ายจริงที่เหตุผลเป็นเรื่องโง่เขลา ลูกก็ทราบนี่ว่า เสนาบดีสยามหลับตอนกลางวัน และทำงานตลอดจนประชุมกันในเวลากลางคืน เรื่องนี้ส่งผลให้เมื่อโทรเลขฉบับนั้นมาถึง จึงได้แต่รอกันเงียบๆ โดยไม่บอกให้พ่อรู้ด้วยซ้ำ จนกรมหลวงเทวะวงศ์ฯ ทรงตื่นจากบรรทม ซึ่งพระองค์ทรงตื่นขึ้นตอนที่มีคนได้ยินเสียงยิงปืนใหญ่ที่ปากน้ำนั่น""
สุดท้ายคือ บทบาทของพันธมิตรในยามยากอย่างอังกฤษ ในระยะแรกๆ รัฐบาลอังกฤษอาจมีท่าทีว่าจะช่วยเหลืออยู่บ้าง ก่อนจะผันมาเป็นฝ่ายตะล่อมให้สยามยอมจำนนต่อคำขาดของฝรั่งเศส นายนอร์แมนกล่าวถึงคำปรึกษาที่ลอร์ดโรสเบอรี่บอกผ่านกัปตันโจนส์ ทูตอังกฤษ มายังกรมหลวงเทวะวงศ์ฯ ความว่า
"เนื้อหาของคำปรึกษาที่ข้าพเจ้าได้ ให้แก่รัฐบาลสยามอย่างสม่ำเสมอตลอดมาเป็นไปในทำนองให้หาทางปรองดองกับ ฝรั่งเศสโดยเร็ว เป็นไปไม่ได้ที่รัฐบาลของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจะหันเหไปจากทรรศนะดังกล่าว ในขณะนี้...แนวโน้มในข้อเรียกร้องของฝรั่งเศสมีแต่จะเพิ่มขึ้น และอย่างรวดเร็ว ถ้าสยามยังคงยืนกรานปฏิเสธต่อเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในคำขาดนั้น"
วิกฤตการณ์ ร.ศ.112 สั่นคลอนความเชื่อมั่นของคนไทย สั่นคลอนความเป็นสถาบันต่างๆ สยามตระหนักในความสามารถของตนเอง และซึมซับรับทราบกับบทบาทของมหาอำนาจทั้งหลาย หลังเหตุการณ์ดังกล่าวจึงติดตามด้วยการแก้ไข ปรับปรุงบ้านเมืองผู้คนครั้งใหญ่
**พระยอดเมืองขวาง เป็นบุตรพระยาไกรเพ็ชร เกิดที่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๘๙ นามเดิมชื่อว่า "สมบุญ" ต่อมาได้มาอยู่กรุงเทพฯ และได้ศึกษาเล่าเรียนอย่างเหมาะสม เข้ารับราชการจนได้ทำงานกับกระทรวงมหาดไทย ได้เลื่อนตำแหน่งมาโดยลำดับจนมาเป็นเจ้าเมืองเชียงขวาง มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยอดเมืองขวาง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ ตรงกับสมัยราชกาลที่ ๕ พระยอดเมืองขวางเป็นคนทำงานดีมีความรู้ ความสามารถจึงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากรัชกาลที่ ๕
ได้รับคัด เลือกให้ไปเป็นข้าหลวงแขวงคำม่วนในราชอาณาจักรลาว (ซึ่งในสมัยนั้นรวมอยู่ในราชอาณาจักรสยาม) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๒๘ พระยอดเมืองขวางได้ไปตั้งค่ายทหารไว้ที่ตำบลขนองม้า (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ?นาแป? หรือ ?นาป่า? เพราะเป็นนาอยู่กลางป่าในหุบเขา) ใกล้พรมแดนญวน ค่ายขนองม้านี้ตั้งขวางช่องทางซึ่งเป็นด่านพรมแดนระหว่างเขตสยามกับญวน เมื่อไปอยู่เมืองคำมวนแล้ว ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยอดเมืองขวาง เมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๑**พุทธศักราช 2434
ฝรั่งเศสได้ ยุแหย่ชาวทุ่งเชียงคำ แขวนเมืองพวน ดินแดนหัวพันทั้งห้าทั้งหก ให้ก่อความไม่สงบขึ้น โดยบุตรเจ้าเมืองไล ชื่อ บางเบียน ได้ชักธงฝรั่งเศสขึ้นที่ทุ่งเชียงคำหลายครั้ง สยามได้ชักธงฝรั่งเศสลงทุกครั้ง และในที่สุด จับตัว บางเบียนคุมตัวไว้ นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งหนึ่งที่ฝรั่งเศส หยิบขึ้นมาเป็นเหตุอ้างขึ้นมาคุกคามสยามในภายหลัง เพื่อเป็นเหตุผลในการรุกรานเอาดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
( * หมายเหตุ - การเรียกฝั่งซ้ายขวา จะหันหน้าไปตามทิศทางที่แม่น้ำไหลไป ฝั่งลาวจึงเป็นฝั่งซ้าย )-(และถ้าใช้ทิศเหนือเป็นหลักก็จะเรียกว่าโขงฝั่งซ้าย ซึ่งเป็นฝั่งแขวงเมืองไชยบุรีของลาว และก่อปัญหาสงครามร่มเกล้ากับไทยในเวลาต่อมา)**พุทธศักราช 2436
อีกสองปีต่อมา เมื่อวันที่ 25 เมษายน ร.ศ. 112 ฝรั่งเศสส่งกำลังทหารเข้าคุกคามพระราชอาณาเขตสยาม ทางด้านลุ่มน้ำสตรึงบังเหียน ซึ่งเป็นดินแดนด้านลาวและเขมร โดยใช้กำลังขับไล่ทหารสยาม ที่ประจำตามแนวเขต ใช้เวลา 1 เดือน ก็สามารถชักธงฝรั่งเศสขึ้นที่เขมรัฐ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ร.ศ. 112
ในช่วงเวลาเดียวกัน กับการรุกรานทางด้านลุ่มน้ำสตรึงบังเหียน ฝรั่งเศสก็เปิดการรุกรานทางด้านสตรึงเตรง โดยฝรั่งเศสใช้กำลังล่องขึ้นมาตามลำแม่น้ำโขง ขับไล่ หลวงพิพิธสุนทร ข้าหลวงเมืองสตรึงเตรง กับกำลังทหารออกไป แล้วเข้ายึดเมืองโขง หรือสีทันดร ได้เมื่อวันที่ 4 เมษายน ร.ศ. 112 แต่เนื่องจากมองสิเออร์บัสตาร์ด ผู้บังคับการได้รุกเข้ายึดเมืองโดยรีบร้อน ทำให้กองกำลังหนุน ซึ่งนำโดยร้อยเอกทอโรซ์ติดตามไม่ทัน ถูกฝ่ายสยามตีตัดกำลัง จึงขาดเสบียงอาหาร ต้องออกหาเสบียงอาหารเอง และถูกกระแสน้ำพัดไปติดทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง จึงถูกกองกำลังของสยาม ซึ่งนำโดยร้อยโทขุนศุภมาตรา เข้าทำการขับไล่ และจับร้อยเอกทอโรซ์เป็นเชลย ทำให้คนสยามปลื้มกันยกใหญ่ แต่ฝรั่งเศสเสียหน้าอย่างมาก เปิดเกมกดดันสยามอย่างหนัก เพื่อให้ปล่อยร้อยโททอโรซ์ ถึงขนาดจะขับฑูตสยามออกจากประเทศ
ครั้นพอเกิดเหตุการณ์ที่แก่งเจ๊กขึ้น 10 วัน รัฐบาลสยามจึงตัดสินใจปล่อยร้อยโททอโรซ์ไป เพื่อผ่อนคลายวิกฤตการณ์ให้บางเบาลง**การสู้รบที่บ้านแก่งเจ๊ก
วัน ที่ 23 พฤษภาคม ร.ศ. 112 มองซิเออร์ ลุซ ได้รับคำสั่งจาก มองสิเออร ลานาสซัง ผู้สำเร็จราชการอินโดจีน ได้ใช้กำลังทหารอาสาสมัคร ชาวญวนและเขมร 200 คนเศษ เข้าโอบล้อมตีปล้นค่ายพระยอดเมืองขวาง เจ้าเมืองคำมวน มองซิเออร์ลุซจับกุมพระยอดเมืองขวาง และคณะกรมการเมืองคำม่วนได้ พร้อมทั้งยึดทรัพย์สิน ทั้งของราชการและส่วนตัวเอาไว้ บังคับให้พระยอดเมืองขวางกับพวก ออกไปจากเมืองคำม่วน โดยอ้างว่าเมืองคำม่วนเป็นของญวน ซึ่งตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสแล้ว แต่พระยอดเมืองขวางโต้แย้งว่า เมืองคำม่วนเป็นพระราชอาณาเขตกรุงสยาม หากมีปัญหาจะต้องให้ รัฐบาลฝรั่งเศสและรัฐบาลสยามเป็นผู้ตัดสิน มองสิเออร์ลุซ ยืนยันว่าจะต้องยึดเมืองคำม่วนไว้ก่อน พระยอดเมืองขวางไม่อาจทัดทานกำลังฝรั่งเศส ซึ่งเหนือกว่าได้ จึงต้องยอมออกจากเมืองที่ตนปกครองมาแล้วถึง 8 ปี แต่ก่อนออกไปได้ทำหนังสืออายัดสงวนสิทธิเมือง มอบไว้ให้กับฝ่ายฝรั่งเศส อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่จนถึงวาระสุดท้าย ในตำแหน่งข้าหลวงรักษาราชการเมืองคำม่วนและคำเกิด
ต่อมาอีก 3 วัน มองสิเออร์ลุซ ได้มอบหมายให้ มองสิเออร์กรอสกุรัง นายทหารเกณฑ์หัดคุมทหาร 20 คน นำตัวพระยอดเมืองขวางกับพวก ราว 20 คน ไปส่งที่เมืองท่าอุเทน โดยอ้างว่าหากอยู่ที่เมืองคำม่วนต่อไป จะไม่มีความปลอดภัย เนื่องจากราษฏรเกลียดชัง มองสิเออร์กรอสกุรังได้คุมตัวพระยอดเมืองขวางกับพวก ออกจากเมืองคำม่วนไป ท่ามกลางเสียงร้องไห้อาลัยรักของราษฎร เดินทางไปราว 4 วัน 5 คืน ถึงบ้านนาหลักหิน ปลายเขตแดนติดต่อกัน ระหว่างเมืองคำม่วนกับเมืองท่าอุเทน มองสิเออร์กรอสกุรังกับพวก ไปพักที่บ้านแก่งเจ๊ก พระยอดเมืองขวางกับพวก พักที่ทำเนียบเก่าของตน ห่างจากบ้านพักของฝรั่งเศสชั่วระยะเดิน 15 นาที
หลังจากนั้นอีก 2 วัน มองสิเออร์กรอสกุรัง ได้นำทหาร 10 คน มาจับตัว หลวงอนุรักษ์ ผู้ช่วยพระยอดเมืองขวาง ไปเป็นตัวประกัน โดยอ้างว่าก่อนเดินทางมา หลวงอนุรักษ์ได้พูดกับราษฏรเมืองคำม่วนว่า ต้องทิ้งเมืองคำม่วนมาชั่วคราว อีกไม่ช้าจะต้องกลับมารบเอาเมืองคืนให้ได้ เป็นการยุยงส่งเสริมให้เกิดความไม่สงบมาครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อวานนี้ราษฎรพูดกันว่า พระยอดเมืองขวางจะหนีไปตั้งค่ายที่เวียงกระแสนอีก จึงต้องเอาตัวหลวงอนุรักษ์ไปคุมไว้ ได้เรือมาพร้อมเมื่อไร จะส่งตัวไปเมืองท่าอุเทน พร้อมกับพระยอดเมืองขวาง พระยอดเมืองขวางพูดจาทัดทานก็ไม่เป็นผล ฝรั่งเศสทำร้ายมัดมือ และฉุดกระชากลากตัวหลวงอนุรักษ์ไป ดังเป็นเชลย แล้วไปคุมขังไว้ที่เรือนพักของมองสิเออร์กรอสกุรัง
รุ่งขึ้นพระยอดเมืองขวาง ให้ ขุนวัง ไปพูดจาขอเอาตัวหลวงอนุรักษ์คืน แต่มองสิเออร์กรอสกุรังไม่ยอมให้คืนมา ตกบ่าย ท้าวเพี้ย (ขุนนาง) มาบอกกับพระยอดเมืองขวางว่า มองสิเออร์กรอสกุรังจะมาจับพระยอดเมืองขวางกับพวกด้วย พระยอดเมืองขวางเห็นว่า จะไม่ปลอดภัย จึงยกพวกล่องเรือไปที่ภูเขาเวียงกระแสน พบกับพวกท้าวเพี้ย และไพร่เมืองท่าอุเทนราว 50 คน คุมเสบียงสวนทางขึ้นมา ก็ชวนลงไปที่เมืองกระแสนด้วยกัน
วันที่ 3 มิถุนายน ร.ศ. 112 นายทุ้ย และนายแปลก ซึ่งได้รับคำสั่งจากหลวงวิชิตสรศาสตร์ ข้าหลวงที่ 3 ในหัวเมืองลาวพวน ให้มาช่วยพระยอดเมืองขวาง กับพวกที่ถูกฝรั่งเศสคุมตัว และหาทางให้ฝรั่งเศสถอยไปพ้นจากพระราชอาณาเขต ก็คุมทหาร 50 คน มาพบกับพระยอดเมืองขวาง ที่เวียงกระแสน ได้ปรึกษากันเรื่องจะไปขอตัวหลวงอนุรักษ์คืนจากฝรั่งเศส และวันนั้นเอง พระยอดเมืองขวาง นายทุ้ย นายแปลก พร้อมด้วยกำลังทหาร ก็พากันไปที่แก่งเจ๊ก ขุนวังรับหน้าที่เจรจาของตัวหลวงอนุรักษ์คืน เช่นครั้งก่อน มองสิเออร์กรอสกุรังตอบปฏิเสธผ่าน บุนจัน ล่ามเขมรมาอย่างไม่มีเยื่อใย ขุนวังก็พูดขอศาสตราวุธและทรัพย์สินคืน กับขอให้ฝรั่งเศสถอยออกไปพ้นพระราชอาณาเขตสยาม มองสิเออร์กรอสกุรังตอบผ่านล่ามมาว่า ฝรั่งเศสจะไม่ถอยออกไปอย่างเด็ดขาด ส่วนศาสตราวุธและทรัพย์สินต่างๆ ก็ไม่ได้อยู่ที่ตน ตนจึงคืนให้ไม่ได้
การเจรจาไม่ประสบผลสำเร็จ พระยอดเมืองขวางตัดสินใจสั่งให้หลวงอนุรักษ์ ซึ่งอยู่ในที่นั้นด้วยกระโดดหนี บุนจัน ล่ามเขมรเตือนให้มองสิเออร์กรอสกุรัง รู้ มองสิเออร์กรอสกุรัง ร้องบอกทหารญวนให้เตรียมป้องกัน พลางจับมือหลวงอนุรักษ์ลากเข้าไปในห้อง หลวงอนุรักษ์สะบัดมือหลุด แล้วกระโดดเรือนลงมาหาพระยอดเมืองขวาง จึงเกิดการชุลมุนขึ้น พร้อมๆ กันนั้น เสียงปืนดังขึ้นหนึ่งนัด ถูกทหารสยามชาวโคราช ลูกน้องนายทุ้ยนายแปลก ล้มตาย ตามมาด้วยเสียงปืนอีกสามนัด ถูกทหารสยามตายอีก 2 คน พระยอดเมืองขวางกับนายทุ้ยนายแปลก ร้องห้ามไม่เป็นผล จึงสั่งทหารยิงโต้ตอบกลับไป ได้เกิดไฟลุกไหม้ที่พัก ของมองสิเออร์กรอสกุรังขึ้นในขณะนั้น บุนจันล่ามเขมร ซึ่งถูกปืนที่ขาซ้ายและมือขวา ก็วิ่งหนีลงมาจากเรือนที่ไฟไหม้ พลางร้องขอชีวิต พระยอดเมืองขวางจึงห้ามมิให้ทำร้ายแก่บุนจัน หลวงอนุรักษ์ก็ไปคว้ามือบุนจันมาไว้ ภายหลังชาวเขมรเดนตายผู้นี้ ได้กลายมาเป็นพยานปากเอกของฝ่ายฝรั่งเศส เล่นงานพระยอดเมืองขวางในศาลรับสั่งพิเศษ
ส่วนขุนวัง วีรชนอีกคนซึ่งไม่มีชื่อจารึกในทำเนียบวีรบุรุษ เมื่อเกิดเหตุการณ์ชุลมุนต่อสู้แล้ว ก็ถือดาบวิ่งโรขึ้นไปบนเรือน ปากร้องด่าว่าจะตัดหัวฝรั่ง แต่ไม่ทันจะได้ตัดหัวฝรั่งเศสสมแค้น ก็ถูกลูกกระสุนปืนทหารญวน ยิงสวนมาถึงแก่ความตายทันที ถึงกระนั้นก็ตาม มองสิเออร์กรอสกุรัง ก็หารอดพ้นจากความตายไปไม่ แม้หัวจะไม่ขาดเพราะดาบขุนวัง แต่ขมับก็ทะลุเพราะกระสุนปืนทหารสยามชาวโคราช นอนตายอยู่ในเรือนที่ไฟกำลังลุกโหมอยู่ ความตายของมองสิเออร์กรอสกุรังนี้เอง ที่จักรวรรดินิยมฝรั่งเศสฉวยเป็นประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่ง ในการรุกฆาต เพื่อเชือดเฉือนแผ่นดินสยามฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
ผลจากศึกชิงตัวหลวง อนุรักษ์ครั้งนั้น นอกจากขุนวัง และมองสิเออร์กรอสกุรัง ต้องจบชีวิตแล้ว ทหารฝ่ายสยามตาย 6 คน บาดเจ็บ 4-5 คน ฝ่ายฝรั่งเศสตาย 11-12 คน (แต่ฝรั่งเศสอ้างว่าตาย 16-24 คน) สยามจับเชลยได้ 3 คน คือ งูเยนวันคัน หรือ เหงียนวันคัน ส่วนทหารเชลยอีกคน เข้าใจว่าเสียชีวิตก่อนเดินทาง
มอง สิเออร์ลุซ ซึ่งยึดเมืองคำม่วนอยู่ ได้รายงานให้ มองสิเออร์ลานาสซัง ผู้สำเร็จราชการอินโดจีน ทราบถึงเหตุการณ์ที่แก่งเจ๊กว่า "ขณะเจรจากับพระยอดเมืองขวาง ข้าหลวงสยามประจำเมืองคำม่วน ได้ใช้ปืนรีวอลเวอร์ยิงเอามองสิเออร์กรอสกุรัง ในระยะเผาขน และในเวลาเดียวกันทหารสยามก็ตรูกันเข้าทำร้ายพนักงานรักษาการณ์ พนักงานรักษาการณ์น้อยกว่า จึงสู้ไม่ได้ สยามได้ฉกชิงสิ่งของที่มีในที่พัก เอาไฟเผาที่พักเสีย... " เป็นการเล่นบท หมาป่ากับลูกแกะอย่างทันอกทันใจ
หลังเหตุการณ์ที่บ้านแก่งเจ๊ก ฝรั่งเศสได้ส่งเรือรบบุกรุกเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้เกิดยุทธนาวีที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ขึ้น เกิดการยิงสู้รบขึ้น เรือรบและทหารสยามได้ทำการต่อสู้ป้องกันข้าศึกอย่างกล้าหาญ สร้างความเสียหายให้กับเรือรบฝรั่งเศสมากพอสมควร ทหารสยามตาย 8 คน เจ็บ 41 คน สูญหาย 1 คน ราษฎรสยามถูกลูกหลงตาย 1 คน เรือและป้อมเสียหายมาก ทหารฝรั่งเศสตาย 3 คน แต่ด้วยกำลังทหารและอาวุธที่ด้อยกว่ามาก และเกรงว่าฝรั่งเศสจะอ้างเป็นเหตุ ในการเปิดสงครามสู้รบครั้งใหญ่ อันจะทำให้ประเทศสยามต้องตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เพราะกำลังของสยามที่ด้อยกว่า ไม่อาจต้านทาน แสนยานุภาพของฝรั่งเศสที่มีอาวุธเหนือกว่าได้ รัฐบาลสยามจึงจำต้องสั่งให้ทหารยุติการต่อสู้กับฝรั่งเศส
ครั้งวันที่ 20 กรกฎาคม ร.ศ. 112 หลังเกิดเหตุ 7 วัน รัฐบาลฝรั่งเศสก็ได้ยื่นข้อเรียกร้องแก่รัฐบาลสยาม 6 ข้อ ให้ตอบภายใน 48 ชั่วโมง คือ1. ให้สยามยอมสละกรรมสิทธิ์ทั้งหมด และเคารพสิทธิของญวนและเขมร ในดินแดนเหนือฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง รวมทั้งบรรดาเกาะทั้งหมด ที่อาจมีขึ้นเมื่อน้ำลด หรือในบรรดาที่มีมาก่อนแล้วนั้น ให้เป็น กรรมสิทธิ์ของฝรั่งเศส
2. สยามจะต้องไม่มีค่ายทหารในเขต 25 กม. ตลอดแนวแม่น้ำ รวมทั้งพระตะบอง และเสียมเรียบ สยามจะไม่มีเรือรบไปไว้ หรือใช้ดินแดนในทะเลสาป หรือลำน้ำที่แยกจากแม่น้ำโขง และให้ถอนกองทหารที่ตั้งมั่นอยู่บนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ให้เสร็จสิ้นภายในเวลาไม่เกิน 1 เดือน
3. ให้เสียค่าปรับไหมแก่ฝรั่งเศส ในเหตุการณ์อุกฉกรรจ์ที่เกิดขึ้นที่ทุ่งเชียงคำและที่คำม่วน และทั้งในการที่ได้ทำอันตรายและความเสียหายแก่เรือ และพวกกลาสีเรือฝรั่งเศส ในลำแม่น้ำเจ้าพระยา
4. ให้ลงโทษผู้กระทำผิด และเสียเงินค่าทำขวัญให้แก่ครอบครัวผู้ที่ต้องเสียชีวิต
5. ให้ใช้เงิน 2,000,0000 ฟรังค์ ค่าที่ทำความเสียหายให้แก่ชนชาติฝรั่งเศส
6. ให้จ่ายเงินจำนวน 3,000,000 บาท ทันที มัดจำการที่จะชดใช้เงินค่าเสียหายและเงินค่าทำขวัญรายต่างๆ หรือถ้าไม่สามารถ ก็ต้องยอมให้รัฐบาลฝรั่งเศสถือสิทธิเก็บเงินค่าส่วนสาอากร และสมพัสตร์ในมณฑลพระตะบองและเสียมราฐ
ตราด ในการยึดครองของฝรั่งเศส
ตราด ในการยึดครองของฝรั่งเศส
ตราด ในการยึดครองของฝรั่งเศส
ชุมชนคนท้องถิ่น
: ตราด ในการยึดครองของฝรั่งเศส
โดย เรือนอินทร์ หน้าพระลาน
งาน "วันตราดรำลึก" มีระหว่างวันที่ 23-27 มีนาคม หน้าศาลากลางจังหวัด เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งฝรั่งเศสเข้ายึดครองเมืองตราด
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสได้ขยายอำนาจมาทางตะวันออกของแหลมอินโดจีน ครอบครองญวนและเขมรส่วนนอกทั้งหมด แล้วอ้างสิทธิในดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเดิม ว่าเป็นของญวนและเขมร
ดังนั้น ฝรั่งเศสควรมีสิทธิครอบครองดินแดนนี้ด้วย ฝรั่งเศสใช้กำลังบีบบังคับ ไทยจึงยอมทำสัญญาสงบศึกในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2436 รับว่าดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ตลอดทั้งเกาะต่างๆ ในลำน้ำโขงเป็นของฝรั่งเศส
และให้ไทยถอนทหารชายแดนทั้งหมด รวมทั้งเสียค่าปรับ ค่าทำขวัญแก่ฝรั่งเศส โดยรัฐบาลฝรั่งเศสจะยึดครองจันทบุรีไว้จนกว่าไทยจะปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วน
รัฐบาลฝรั่งเศสได้ยึดครองเมืองจันทบุรีเป็นเวลา 10 ปี จึงยอมคืนให้ไทย แต่ขอยึดเมืองตราดไว้แทน วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2446 รัฐบาลไทยจึงได้ทำสัญญากับรัฐบาลฝรั่งเศส ยอมยกเมืองตราด และเกาะทั้งหลายภายใต้แหลมลิงลงไปถึงเกาะกูด ตลอดจนถึงเมืองประจันตคีรีเขตต์ (เกาะกง) ให้แก่ฝรั่งเศส
ฝ่ายฝรั่งเศสจึงยอมถอนทหารออกจาก จ.จันทบุรีในปี พ.ศ.2447 ต่อจากนั้นรัฐบาลไทยได้มอบ จ.ตราดและเกาะกงให้แก่ฝรั่งเศสเข้าปกครองตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2447
แล้วในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2449 ไทยทำสัญญากับฝรั่งเศสยกพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองตราด
วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2450 ฝรั่งเศสจึงทำพิธีมอบเมืองตราดอย่างเป็นทางการ ให้แก่ประเทศไทยตามเดิม รวมเวลาที่ จ.ตราด ตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสเป็นเวลา 2 ปี 6 เดือน 7 วัน
ตราด ในการยึดครองของฝรั่งเศส
ชุมชนคนท้องถิ่น
: ตราด ในการยึดครองของฝรั่งเศส
โดย เรือนอินทร์ หน้าพระลาน
งาน "วันตราดรำลึก" มีระหว่างวันที่ 23-27 มีนาคม หน้าศาลากลางจังหวัด เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งฝรั่งเศสเข้ายึดครองเมืองตราด
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสได้ขยายอำนาจมาทางตะวันออกของแหลมอินโดจีน ครอบครองญวนและเขมรส่วนนอกทั้งหมด แล้วอ้างสิทธิในดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเดิม ว่าเป็นของญวนและเขมร
ดังนั้น ฝรั่งเศสควรมีสิทธิครอบครองดินแดนนี้ด้วย ฝรั่งเศสใช้กำลังบีบบังคับ ไทยจึงยอมทำสัญญาสงบศึกในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2436 รับว่าดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ตลอดทั้งเกาะต่างๆ ในลำน้ำโขงเป็นของฝรั่งเศส
และให้ไทยถอนทหารชายแดนทั้งหมด รวมทั้งเสียค่าปรับ ค่าทำขวัญแก่ฝรั่งเศส โดยรัฐบาลฝรั่งเศสจะยึดครองจันทบุรีไว้จนกว่าไทยจะปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วน
รัฐบาลฝรั่งเศสได้ยึดครองเมืองจันทบุรีเป็นเวลา 10 ปี จึงยอมคืนให้ไทย แต่ขอยึดเมืองตราดไว้แทน วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2446 รัฐบาลไทยจึงได้ทำสัญญากับรัฐบาลฝรั่งเศส ยอมยกเมืองตราด และเกาะทั้งหลายภายใต้แหลมลิงลงไปถึงเกาะกูด ตลอดจนถึงเมืองประจันตคีรีเขตต์ (เกาะกง) ให้แก่ฝรั่งเศส
ฝ่ายฝรั่งเศสจึงยอมถอนทหารออกจาก จ.จันทบุรีในปี พ.ศ.2447 ต่อจากนั้นรัฐบาลไทยได้มอบ จ.ตราดและเกาะกงให้แก่ฝรั่งเศสเข้าปกครองตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2447
แล้วในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2449 ไทยทำสัญญากับฝรั่งเศสยกพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองตราด
วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2450 ฝรั่งเศสจึงทำพิธีมอบเมืองตราดอย่างเป็นทางการ ให้แก่ประเทศไทยตามเดิม รวมเวลาที่ จ.ตราด ตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสเป็นเวลา 2 ปี 6 เดือน 7 วัน
ข้อมูลทั่วไปจ.ตราด
ข้อมูลทั่วไปจ.ตราด
คำขวัญประจำจังหวัด
"เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ ระกำแสนหวาน
หลังอานหมาดี ยุทธนาวีเกาะช้าง สุดทางบูรพา"
ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดตราดตั้งอยู่ภาคตะวันออกของประเทศไทยห่างจากกรุงเทพฯ 315 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 2,819 ตร.กม. หรือประมาณ 1,761,875 ไร่ และเป็นพื้นที่ตามเขตปกครองทางทะเล ประมาณ 7,257 ตร.กม. มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงและประเทศเพื่อนบ้าน ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี และประเทศกัมพูชา
ทิศใต้ ติดต่อกับ อ่าวไทยและน่านน้ำทะเลประเทศกัมพูชา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ประเทศกัมพูชา มีทิวเขาบรรทัดเป็นแนวกั้นเขตแดน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
ภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศ มีอาณาบริเวณทั้งที่เป็นแผ่นดิน และพื้นน้ำ ประกอบด้วยเทือกเขาสูงอุดมด้วยป่าเบญจพรรณ และป่าดิบทางด้านตะวันออก ส่วนบริเวณหมู่เกาะต่างๆ ทางด้านใต้ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงเช่นเดียวกัน ตอนเหนือเป็นที่ราบบริเวณภูเขา ตอนกลางเป็นที่ราบลุ่มน้ำที่อุดมสมบูรณ์แล้วลาดลงเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล สภาพภูมิประเทศที่ปรากฏจึงแบ่งเป็น 4 ลักษณะ
1. บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้แก่ บริเวณที่ราบตอนกลาง และตะวันออกเหมาะสำหรับทำนาข้าว และปลูกผลไม้
2. ที่ราบบริเวณภูเขา ได้แก่ บริเวณที่ราบตอนบน และตอนกลาง บริเวณนี้มีพื้นที่กว้างขวางมากเนื่องจากมีภูเขากระจายอยู่ทั่วไป เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การทำสวนผลไม้ ยางพารา และปลูกสับปะรด
3. ที่สูงบริเวณภูเขา ได้แก่ บริเวณทางตอนกลางของอำเภอแหลมงอบ และเขตติดต่ออำเภอเขาสมิง นอกจากนี้ยังมีบริเวณที่เป็นเกาะต่างๆ ซึ่งส่วนมากมีสภาพเป็นพื้นที่ป่าไม้
4. ที่ราบต่ำชายฝั่งทะเล ได้แก่ บริเวณชายฝั่งทะเลเกือบตลอดแนว บริเวณพื้นที่แห่งนี้เป็นป่าชายเลนอย่างหนาแน่น และยังเป็นสถานที่เลี้ยงสัตว์น้ำบางชนิดด้วย
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพอากาศไม่ร้อนจัดหรือหนาวจัดจนเกินไป เนื่องจากพื้นที่ของจังหวัดมีเกาะต่าง ๆ มากมาย ถึง 52 เกาะ จึงเป็นเสมือนกำแพงกั้นบังคลื่นลม พื้นที่จังหวัดตราดจึงไม่เคยได้รับความเสียหายจากลมพายุเลย ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น มีฝนตกชุกเกือบตลอดปี แบ่งเป็น3ฤดู
ฤดูหนาว มีเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ อากาศไม่หนาวเเย็นมากนักอุณหภูมิเฉลี่ย 20 องศาเซลเซียส
ฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือนมีนาคม และเดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ย 34 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน อยู่ในช่วงเดือน พฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป อากาศค่อนข้างร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 26 - 29 องศาเซลเซียส ในปี 2545อุณหภูมิสูงสุด 33.8 องศาเซลเซียส ต่ำสุด 21.8 องศาเซลเซียส มีฝนตกตลอดทั้งปี 220 วัน ปริมาณน้ำฝนวัดได้ 4,398.1 มิลลิเมตร
เขตการปกครอง
จังหวัดตราดแบ่งเขตการปกครองรายอำเภอ ดังนี้
1. เมือง
2. เขาสมิง
3.คลองใหญ่
4. แหลมงอบ
5. บ่อไร่
6. กิ่งอ.เกาะกูด
7. กิ่ง อ. เกาะช้าง
สภาพเศรษฐกิจ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด
|
| |||
ภาคเกษตร |
7,626.00
|
7,856.00
| ||
เกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ |
2,716.00
|
2,998.00
| ||
การประมง |
4,910.00
|
4,858.00
| ||
ภาคนอกเกษตร |
9,013.00
|
9,999.00
| ||
การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน |
39.00
|
50.00
| ||
การผลิตอุตสาหกรรม |
578.00
|
634.00
| ||
การไฟฟ้า ก๊าซ และการประปา |
326.00
|
365.00
| ||
การก่อสร้าง |
461.00
|
515.00
| ||
การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน |
2,025.00
|
2,467.00
| ||
โรงแรมและภัตตาคาร |
778.00
|
812.00
| ||
การขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม |
1,074.00
|
1,104.00
| ||
ตัวกลางทางการเงิน |
513.00
|
605.00
| ||
บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่า และบริการทางธุรกิจ |
591.00
|
594.00
| ||
การบริหารราชการแผ่นดินและการป้องกันประเทศ รวมทั้งการประกันสังคมภาคบังคับ |
761.00
|
827.00
| ||
การศึกษา |
742.00
|
826.00
| ||
การบริการด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ |
545.00
|
618.00
| ||
การให้บริการชุมชน สังคม และบริการส่วนบุคคลอื่น ๆ |
564.00
|
566.00
| ||
ลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล |
17.00
|
18.00
| ||
ผลิตภัณฑ์จังหวัด (ล้านบาท) |
16,639.00
|
17,855.00
|
ที่มา: สำนักงานคลังจังหวัดตราด
http://61.19.46.171/trat_poc/report/sar/support_management.php?
การเพาะปลูกพืชของจังหวัดตราดในปี พ.ศ. 2548 พืชที่เกษตรกรเพาะปลูกมากที่สุด คือ ยางพารา โดยมีพื้นที่เพาะปลูก 223,478 ไร่ รองลงมา คือ เงาะ มีพื้นที่ 69,401 ไร่ สับปะรด มีพื้นที่ 40,764 ไร่ และทุเรียน 34,543 ไร่ (สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด, http://61.19.46.171/trat_poc/report/sar/support_management.php?)
สภาพสังคม
การศึกษา
ระดับการศึกษา
|
| |||||
จำนวนนักเรียน
(คน)
|
จำนวนห้องเรียนตามแผน (ห้อง)
|
จำนวนห้องเรียนจัดจริง (ห้อง)
| ||||
ระดับปฐมวัย |
531
|
21
|
21
| |||
ระดับอนุบาล |
5,913
|
301
|
298
| |||
ระดับประถมศึกษา |
20,812
|
911
|
911
| |||
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น |
9,304
|
276
|
277
| |||
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย |
3,472
|
120
|
113
| |||
ระดับ ปวช. |
0
|
0
|
0
| |||
ระดับ ปวส. / อนุปริญญา |
0
|
0
|
0
| |||
ระดับอุดมศึกษา |
0
|
0
|
0
| |||
|
40,032
|
1,629
|
1,620
|
ที่มา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด
http://61.19.46.171/trat_poc/report/sar/support_management.php?
การศาสนา
จังหวัดมีผู้นับถือศาสนาพุทธมากที่สุด รองลงมา คือ ศาสนาอิสลามและคริสต์ โดยมี วัดพุทธในจังหวัดทั้งสิ้น 67 แห่ง มัสยิด 13 แห่ง และโบสถ์คริสต์ 1 แห่ง (สำนักงานพุทธศาสนาจังหวัดตราด และ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตราด, http://61.19.46.171/trat_poc/report/sar/support_management.php?)
การสาธารณสุข
จังหวัด ตราด มีจำนวนโรงพยาบาล แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ โรงพยาบาลของรัฐ ในจังหวัด ดังนี้
โรงพยาบาลของรัฐ 7 แห่ง
โรงพยาบาลของเอกชน 1 แห่ง
สถานีอนามัย 66 แห่ง
ศูนย์บริการสาธารณสุข 1 แห่ง
ประวัติ และภูมิศาสตร์ เมืองตราด
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)