วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กระดาษสวยด้วยชอล์กสี

โครงงาน กระดาษสวยด้วยชอล์กสี ชื่อโครงงาน           กระดาษสวยด้วยชอล์กสี
ผู้จัดทำ                  เด็กชายเนรมิตร สินธุกูฏ
                              นางสาวมานิตา แสนคุณเมือง
                              นางสาวอำนวย งามวาท
ครูที่ปรึกษา           นางสุภาพรรณ ดาษถนิม
                              นางบุสดี การถัก
ผลงาน                   รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 การแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา
                              ตอนต้น ในการแข่งขันทักษะทางวิชาการนักเรียนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลระดับ
                             ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ เทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
                            วันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ 2546

จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

     1. เพื่อเป็นการนำชอล์กที่เหลือใช้แล้วนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์
     2. เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อกระดาษห่อของขวัญ ปกรายงานและกระดาษแต่งบอร์ด
     3. เพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

สมมุติฐาน
     ผงชอล์กสีสามารถชุบกระดาษได้

ขอบเขตการศึกษา

     ใช้ชอล์กสีที่เหลือใช้แล้วภายในโรงเรียน

ตัวแปรที่ศึกษา

     1. ตัวแปรต้น-ผงชอล์กสี
     2. ตัวแปรตาม-สีของกระดาษ
     3. ตัวแปรควบคุม
          - น้ำหนักผงชอล์ก
          - ปริมาตรกรดอะซิติก,ปริมาตรน้ำมันพืช,ปริมาตรน้ำในถาด

อุปกรณ์

     1. เศษชอล์กสี 8. กรดอะซิติก
     2. น้ำมันพืช,น้ำมันหมู,น้ำมันมะกอก 9. น้ำ
     3. กระบอกตวง 10.เครื่องชั่ง
     4. แท่งแก้วคนสาร 11.บีกเกอร์ขนาด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
     5. บีกเกอร์ขนาด250 ลูกบาศก์เซนติเมตร 12. ถาดอลูมิเนียม
     6. โกร่งพร้อมที่บด 13. ไม้บรรทัด
     7. หลอดฉีดยา

เอกสารที่เกี่ยวข้อง
     1. ไฮเดรเตดแคลเซียมซัลเฟต ( hydrated calcium sulphate )
มีสูตร CaSO4 . 2H2O เมื่อนำมาเผาให้ร้อนถึง 120 - 130 ๐C จะได้ผงสีขาว เรียกว่า ปูนปลาสเตอร์ หินฟองเต้าหู้ หรือเกลือจืด
     2. กรดอะซิติก (CH3COOH) หรือ น้ำส้มสายชู

วัตถุดิบที่ใช้สำหรับผลิตน้ำส้มสายชู ส่วนใหญ่ได้จาก ข้าวเหนียว น้ำตาล กากน้ำตาล แอลกอฮอล์กลั่นเจือจาง หรือผลไม้ เช่นสับปะรด กล้วยสุก และจากน้ำมะพร้าว
     น้ำส้มสายชูตามมาตรฐานที่กำหนดโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
     1. น้ำส้มสายชูหมัก หมายถึง น้ำส้มสายชูที่ได้จากการนำวัตถุดิบมาหมักกับสาเหล้าแล้วนำมาหมักกับเชื้อน้ำส้มสายชูตามกรรมวิธีการผลิต เช่น น้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรด
     2. น้ำส้มสายชูกลั่น หมายถึง น้ำส้มสายชูที่ได้จากการหมักแอลกอฮอล์เจือจางกับเชื้อน้ำส้มสายชูตามกรรมวิธีการผลิตและนำไปกลั่นหรือกรอง
     3. น้ำส้มสายชูเทียม หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำกรดอะซิติกมาเจือจางด้วยน้ำ 3.น้ำมัน
ทั้งน้ำมันพืชและน้ำมันสัตว์มีกรดไขมันเป็นส่วนประกอบอยู่ควรทราบว่า กรดไขมันมีสองจำพวก คือ กรดไขมันอิ่มตัว กับ กรดไขมันไม่อิ่มตัว

ผลการทดลอง      น้ำมันหมู มีกลิ่นคาวน้ำมันมีผงชอล์กติดปริมาณมากลวดลายสวยงาม
     น้ำมันพืช ไม่มีกลิ่นคาวน้ำมันสีผงชอล์กติดปริมาณมากลวดลายสวยงาม
     น้ำมันมะกอก ไม่มีกลิ่นคาวน้ำมันสีผงชอล์กติดปริมาณมากลวดลายสวยงาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น