วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หน่อไม้กำจัดหนอน

หน่อไม้กำจัดหนอน
ผู้จัดทำ                   นายเนรมิตร สินธุกูฏ
                               นางสาวอำนวย งามวาท
                               นางสาวผกากรอง  เพ็ญผาด
ครูที่ปรึกษา            นางสุภาพรรณ ดาษถนิม
                               นางบุสดี การถัก
ผลงาน                    รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 โครงงานวิทยาศาสตร์ ในงานนิทรรศการแสดง
                               ผลงานการจัดการศึกษาของเทศบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ
                               สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ จังหวัดร้อยเอ็ด

1. ที่มาและความสำคัญของปัญหา
     จากการศึกษาและสังเกต พบว่าประชาชนในชนบททางภาคอีสาน ชอบประกอบอาหารรับประทานเอง และเครื่องปรุงในการประกอบอาหารที่ขาดไม่ได้ในแต่ละครัวเรือนคือ ปลาร้า ในครอบครัวหนึ่งเมื่อหาปลามาได้ปริมาณมากจะนำไปจำหน่ายในรูปปลาสด เพื่อเป็นรายได้แก่ครอบครัว ที่เหลือจะแปรรูปเพื่อไว้รับประทานได้นาน เช่น ปลาส้ม ปลาตากแห้ง และปลาร้า

การทำปลาร้า
ส่วนมากจะใช้ปลาตัวเล็กหลากหลายชนิดและเป็นปลาที่ไม่สด ถ้านำไปซื้อขายกันจะราคาถูก ขายไม่ได้ราคาเท่าที่ควร ดังนั้นชาวบ้านจึงนิยมทำเป็นปลาร้า หรือซื้อหามาทำปลาร้าไว้บริโภค

วิธีการทำปลาร้าของชาวชนบท
ก็คือ การนำปลาที่ได้มา ขอดเกล็ดควักไส้ออกแล้วล้างน้ำให้สะอาด ใส่ภาชนะหมักด้วยเกลือสินเธาว์ ทิ้งไว้ประมาณ 1–2 คืนจากนั้นจะใช้ข้าวคั่วโขลกให้แหลกพอสมควร นำมาคลุกเคล้ากับปลาที่หมักไว้คลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้วนำบรรจุไว้ในภาชนะที่เรียกว่า “ ไห “ ปิดปากไหเก็บไว้ในครัวเรือนประมาณ 1 ปี นำมาบริโภคได้ หรือครอบครัวที่ทำปริมาณมากจะนำไปจำหน่ายเป็นรายได้ต่อไป

ปัญหาของปลาร้า
ถ้าวิธีการทำไม่ดี ส่วนผสมไม่เหมาะสมกันจะทำให้ปลาร้านั้นเกิดหนอนปลาร้า ทำให้เกิดความเสียหายต่อปลาร้า การนำมาบริโภคหรือการนำไปจำหน่าย
ตัวการสำคัญที่ทำให้ปลาร้าเกิดหนอน คือการที่แมลงวันวางไข่ที่ไหปลาร้า และหรือแมลงหวี่ชนิดหนึ่งวางไข่ที่ปลาร้า จากปัญหาดังกล่าว มนุษย์จึงศึกษาวิธีกำจัดหนอนในปลาร้าด้วยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งอาจได้ผลดี เสีย แตกต่างกันไป

การกำจัดหนอนในปลาร้า
โดยการควบคุมต้นเหตุ คือ แมลงวันหรือแมลงหวี่ โดยการกำจัดปัจจัยในการดำรงชีวิต คือ ที่อยู่อาศัย อาหาร และควบคุมความเหมาะสมต่อสภาพการดำรงชีวิต หรือแม้แต่การป้องกันไม่ให้แมลงดังกล่าวมารบกวน จะเป็นวิธีการที่ทำได้ยาก เพราะแหล่งเพาะเชื้อแมลงวันอยู่ได้ในสถานที่ต่างๆ มากมาย การกำจัดวิธีนี้จึงใช้ไม่ได้ผล
การกำจัดโดยการเขี่ยไข่แมลงวันหรือแมลงหวี่ทิ้ง เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร เพราะบางครั้งไข่ตกหล่นลงไปรวมอยู่ในปลาร้าขณะที่มีการเขี่ยทิ้ง หรือระยะเวลาการฟักไข่เป็นตัวหนอนอ่อน ใช้ระยะเวลาสั้น จึงทำให้เกิดหนอนในปลาร้าและไม่ได้ผล
การกำจัดโดยการนำปลาร้าที่มีหนอนไปต้ม เป็นวิธีการกำจัดที่ทำให้หนอนปลาร้าตายหมดจริง แต่ไม่เหมาะหรือไม่สะดวก ในกรณีที่ปลาร้ามีปริมาณมากๆและทำให้การนำไปจำหน่ายไม่ได้ราคา และไม่สะดวกต่อการเก็บ
การกำจัดโดยการใช้สารเคมี ไม่เหมาะสมเพราะเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการระวังรักษาเพื่อความปลอดภัยและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย จึงไม่นิยม
การกำจัดหนอนปลาร้า เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นการรักษารดชาดของปลาร้าคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เพื่อช่วยค้นหาแนวทางแก้ปัญหาหนอนปลาร้า สมาชิกในกลุ่มจึงจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่อไม้กำจัดหนอนปลาร้า เพื่อแก้ไขปัญหาในปัจจุบันและอนาคต

1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา

     1.2.1 เพื่อศึกษาว่าหน่อไม้กำจัดหนอนปลาร้าได้
     1.2.2 เพื่อศึกษาเปรียบเทียบหน่อไม้กับการกำจัดหนอนปลาร้า เมื่อกำหนดชนิดของหน่อไม้ที่ต่างกัน
     1.2.3 เพื่อศึกษาสาเหตุที่หน่อไม้ทำให้หนอนในปลาร้าตาย
     1.2.4 เพื่อศึกษาช่วงระยะเวลาใดมีผลต่อการกำจัดหนอนปลาร้ามากที่สุด

1.3 สมมติฐาน

     1.3.1 ชนิดของหน่อไม้กำจัดหนอนได้ไม่แตกต่างกัน
     1.3.2 หน่อไม้สดกำจัดหนอนปลาร้าได้ดีกว่าหน่อไม้แห้ง และหน่อไม้อัดปี๊ป
     1.3.3 รสขื่นของหน่อไม้ทำให้หนอนในปลาร้าตายได้
     1.3.4 ช่วงเวลาไม่เป็นอุปสรรคกับหน่อไม้กำจัดหนอนปลาร้า

1.4 ขอบเขตของการศึกษา
     1.4.1 ศึกษาเฉพาะหน่อไม้ไผ่ตง หน่อไม้บ้าน ที่เป็นหน่อไม้สด หน่อไม้แห้ง
หน่อไม้อัดปี๊ป
     1.4.2 อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง ใช้กล่องพลาสติก บิกเกอร์
     1.4.3 ผลจากการศึกษาจำกัดปริมาณหน่อไม้ และหนอนในปลาร้าในกล่องพลาสติก ปริมาณของปลาร้า 1 กิโลกรัม ต่อหน่อไม้ 30 กรัม
     1.4.4 สถานที่ศึกษาทดลอง ตั้งกล่องพลาสติกใส่ปลาร้าไว้ที่สนามสอนหย่อมที่บ้าน
     1.4.5 ช่วงเวลาในการทดลอง ระหว่างเวลา 08.00 - 06.00 น. วันรุ่งขึ้น
               แบ่งการทดลอง 3 ช่วง คือ ช่วงแรก 098.00 น. , ช่วงที่ 2 เวลา 13.00 น. และช่วงที่ 3 เวลา 17.30 น. แต่ละช่วงของการทดลองใช้เวลาสังเกตผลทุกๆ 5 ชั่วโมง

1.5 นิยามเชิงปฏิบัติการ

     1.5.1 หนอนหรือหนอนปลาร้า หมายถึง หนอนที่เกิดจากแมลงวันวางไข่ในปลาร้าและฟักเป็นตัวหนอน
     1.5.2 กำจัด หมายถึง ทำให้หนอนตายหรือหมดไปจากปลาร้า

1.6 ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการทดลอง

1.6.1 ตัวแปรอิสระ      การทดลองที่ 1 ชนิดของหน่อไม้สดที่ใช้ทดลอง หน่อไม้ไผ่ตง หน่อไม้ไผ่บ้าน
     การทดลองที่ 2 ชนิดของหน่อไม้สด หน่อไม้แห้ง หน่อไม้อัดปี๊ป
     การทดลองที่ 3 ช่วงระยะเวลา 08.00 น. , 13.00 น. และ 17.30 น.
1.6.5 ตัวแปรตาม      การทดลองที่ 1 ลักษณะของหนอนในปลาร้า เมื่อใส่หน่อไม้ในปลาร้า
     การทดลองที่ 2 ลักษณะของหนอนในปลาร้า เมื่อใส่ชนิดของหน่อไม้ต่างกันลงในปลาร้า
     การทดลองที่ 3 ลักษณะของหนอนในปลาร้า เมื่อใส่หน่อไม้ลงในปลาร้าในช่วงระยะเวลาต่าง ๆ
1.5.2 ตัวแปรที่ควบคุม
     การทดลองที่ 1
           1. ขนาดและชนิดของกล่องพลาสติกทดลอง
           2. ช่วงระยะเวลาการทดลอง และการสังเกตการทดลอง เวลา 08.00 น. สังเกตทุก ๆ 5
ชั่วโมง
           3. ปริมาณของหน่อไม้ที่ใช้
           4. ปริมาณของปลาร้า และจำนวนตัวหนอน
           5. ชนิดของหน่อไม้ไผ่ตง หน่อไม้บ้าน
     การทดลองที่ 2
          1. ขนาดและชนิดของกล่องพลาสติกทดลอง
          2. ช่วงระยะเวลาการทดลอง และสังเกตผลการทดลอง ทุก ๆ 5 ชั่วโมง
          3. ชนิดของหน่อไม้สด หน่อไม้แห้ง หน่อไม้อัดปี๊ป
          4. ปริมาณของหน่อไม้ที่ใช้
          5. ปริมาณของปลาร้า และจำนวนหนอน
          6. สถานที่
     การทดลองที่ 3
          1. ขนาดและชนิดของกล่องพลาสติก ทดลอง
          2. ชนิดของหน่อไม้
          3. ปริมาณของหน่อไม้ที่ใช้
          4. ปริมาณปลาร้า และจำนวนหนอน
          5. ช่วงระยะเวลาการทดลองและสังเกตผลการทดลอง ทุก ๆ 5 ชั่วโมง
          6. สถานที่

1.7 ข้อตกลงเบื้องต้น
     การศึกษาหน่อไม้กำจัดหนอนปลาร้า จะศึกษาเฉพาะการใช้หน่อไม้ไผ่ตง หน่อไม้ไผ่บ้าน และประเภทของหน่อไม้สด หน่อไม้แห้ง และหน่อไม้อัดปี๊ป ที่ใช้กำจัดหนอนในปลาร้าเท่านั้น ส่วนหน่อไม้อื่น ๆ และหนอนชนิดอื่น ๆ จะไม่ศึกษาในที่นี้

1.8 กระบวนการศึกษา

     การศึกษาหน่อไม้กำจัดหนอนปลาร้า ทำการศึกษาตามขั้นตอนของกระบวนการวิทยาศาสตร์ ดังนี้ ขั้นที่ 1 สังเกตเพื่อกำหนดปัญหา
สิ่งที่สังเกต คือเห็นชาวบ้านโคกน้ำเกลี้ยง ตำบลโพนทอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ นำหน่อไม้และแขนงของหน่อไม้ มาใส่ลงในปลาร้า
     ผลการสังเกต
     1. เห็นปลาร้ามีหนอน
     2. เห็นไหปลาร้าและปลาร้าในไหมีหนอนตัวเล็กปริมาณมาก
     3. แมลงวันและแมลงหวี่บินตอมไหปลาร้า
     4. เมื่อใส่หน่อไม้สดลงไปในไหปลาร้าที่มีหนอน ทำให้หนอนตาย
     กำหนดปัญหา
     1. ชนิดของหน่อไม้ต่างกันมีผลต่อการกำจัดหนอนปลาร้ามากน้อยหรือต่างกัน อย่างไร
     2. หน่อไม้สด หน่อไม้แห้ง และหน่อไม้อัดปี๊ป กำจัดหนอนปลาร้า ต่างกัน อย่างไร เพราะเหตุใด
     3. ช่วงระยะเวลาการกำจัดหนอนปลาร้าด้วยหน่อไม้ มีผลอย่างไร
ขั้นที่ 2 ตั้งสมมติฐาน
ขั้นที่ 3 ทดสอบสมมติฐาน โดยการทดลอง ดังนี้
     การทดลองที่ 1 เรื่องหน่อไม้ไผ่ตง และหน่อไม้บ้าน กำจัดหนอน
ปลาร้าได้ ต่างกันหรือไม่
     การทดลองที่ 2 เรื่องหน่อไม้สด หน่อไม้แห้งและหน่อไม้อัดปี๊ป กำจัดหนอนได้ต่างกันหรือไม่ สาเหตุใดหน่อไม้จึงทำให้หนอนในปลาร้าตายได้
     การทดลองที่ 3 ช่วงระยะเวลาใดดีที่สุดในการใช้หน่อไม้กำจัดหนอนปลาร้า
ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ผลการทดลอง และสรุปผลกรทดลอง
ขั้นที่ 5 นำหลักฐานที่สรุปได้จากการทดลองไปใช้ โดยการใช้หน่อไม้ไปกำจัดหนอนที่มีอยู่ในปลาร้าที่ใช้อยู่บ้าน
     5.1 ทดลองใช้หน่อไม้กำจัดหนอนในปลาร้าที่เกิดจากแมลงวัน ทดลองใช้หน่อไม้กำจัดหนอนในปลาร้าที่เกิดจากแมลงหวี่ จากปลาร้าในไหจริงที่ชาวบ้านทำแล้วเกิดหนอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น